จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 74 : สมาธิในผู้สูงอายุ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

นักวิจัยแสดงความสามารถของผู้สูงอายุในการดำรง (Retain) ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งแห่งที่ (Position) อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiently) มากกว่ามุมมอง (Aspect) การเห็นเป้าหมาย (Target) อีกงานวิจัยหนึ่งก็แสดงการรักษา (Preserver) ความสามารถของผู้สูงอายุที่เพิกเฉย (Ignore) ต่อข้อมูลเบี่ยงเบนจากจุดกำหนดคงที่ (Fixed position)

ในงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ผู้เข้ารับการวิจัยได้รับมอบหมายให้แยกแยะเป้าหมาย ที่บรรจุอยู่ภายในกลุ่มตัวอักษร ณ ศูนย์กลางการแสดงภาพ (Visual display) อันล้อมรอบด้วยขอบนอก (Periphery) ที่เป็นสิ่งเบี่ยงเบน (Distractor) ความสนใจ ปรากฏว่า ผู้สูงวัย (เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เยาว์วัย) ได้รับผลกระทบจากสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อมีอักษรจำนวนน้อยให้เลือก มากกว่าเมื่อมีอักษรจำนวนมากให้เลือก ซึ่งเป็นการค้นพบที่น่าสนใจมาก

ยังมีวรรณกรรมวิจัยอีกมากมายที่เกี่ยวกับสมาธิเลือกสรร (Selective attention) รวมทั้งตัวอย่างหลากหลายของการใช้นานาวิธีการทดสอบและการวิเคราะห์ข้อมูลเดิมซ้ำ (Re-analysis) ซึ่งให้ผลลัพธ์ (Yield) ที่แตกต่างกัน แต่ก็พอสรุปได้ว่า ผู้สูงวัยเริ่มมีความเสียเปรียบ (Disadvantage) ขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่สูงขึ้น เมื่อประยุกต์ใช้กับเงื่อนไขโดยทั่วไป (General condition) บางประการ อาทิ เป้าหมายและสิ่งเบี่ยงเบน (Distractor) ความสนใจ ในรูปแบบประสาทสัมผัส (Sensory modality) เดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะไม่มาก (Mild) แต่ให้ผลกระทบที่แรง (Considerable) ตัวอย่างเช่น นักวิจัยนำเสนอผู้ใหญ่วัยต้นด้วย “งานภาพลายตา” (Stroop task) 2 ฉบับ (Version) โดยที่ฉบับแรกเป็นสีปรกติ (Normal) และอีกฉบับหนึ่งเป็นการลดโทนสี (Desaturated) สภาวะการลดโทนสี ทำให้ผู้ใหญ่วัยต้น ทำงานในลักษณะเลียนแบบ (Mimic) ผู้ใหญ่วัยปลาย ดังนั้นมาตรวัดของสมาธิเลือกสรรจึงมีแนวโน้ม (Prone) เหมือนของเทียมทดลอง (Experimental artifact)

ปัญหาในการวัดผลสมาธิเลือกสรร อาจทำให้บางคนคิดว่า การเสื่อมถอยของสมาธิเลือกสรรในช่วงปลายของชีวิต อาจเป็นภาพลวงตา (Illusion) แต่ก็มีประจักษ์หลักฐานมากมาย (Ample evidence) ที่แสดงว่าผู้สูงวัยแสดงการเสื่อมถอยในสมาธิเลือกสรรที่มีอยู่จริง (Exist) เพียงแต่ขนาด (Size) ของการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ที่อาจยังถกเถียงกันอยู่

อิทธิพลของสมาธิเลือกสรรขยายเกินกว่าขอบเขตที่มุ่งเน้น (Center on) ไปยังงานสมาธิที่เห็นเด่นชัด (Obvious) เราใช้สมาธิในวงกว้างในงานประจำวัน ตัวอย่างเช่น เป็นไปไม่ได้ที่เราจะอ่านประโยคนี้ โดยปราศจากสมาธิในสิ่งที่พิมพ์อยู่บนหน้านี้ แทนสภาพแวดล้อมที่มองเห็น (Visual surrounding)

งานวิจัยด้านสมาธิเป็นเรื่องที่มากกว่าเพียงว่า ผู้เข้ารับการวิจัยทำอย่างไรในงานห้องปฏิบัติการ (Laboratory task)? ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบทักษะสมาธิมีสหสัมพันธ์กับทักษะการรับรู้อื่นๆ ในผู้สูงอายุ สิ่งที่เกิดขึ้นกับสมาธิ มักนำทางไปสู่ระดับโดยทั่วไปของผลลัพธ์ทางเชาว์ปัญญา (Intellectual performance) ในผู้สูงอายุ

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Attention and ageing - http://gazzaleylab.ucsf.edu/wp-content/uploads/2014/09/oxfordhb-Attention-and-Aging.pdf [2016, September 13].