จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 71 : ประสาทสัมผัสกับเชาว์ปัญญา (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

นักวิจัยพบว่า ลำพังการลดความคมชัดของประสาทสัมผัส (Sensory acuity) ในกลุ่มผู้ใหญ่วัยกลางจนถึงผู้ใหญ่วัยปลาย (โดยใช้แว่นพิเศษ สิ่งอุดการได้ยิน [Muffling hearing] ฯลฯ) ไม่สามารถลดผลลัพธ์การรับรู้ (Cognitive performance) ลง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงประสาทสัมผัส เป็นเรื่องที่ส่งผลให้มากกว่าเพียงการทำให้สิ่งนำเข้า (Input) ยากขึ้นที่จะเห็นหรือได้ยิน

อย่างไรก็ตาม การพบว่าทักษะการดม (Olfactory skill) มีความสัมพันธ์กับสติปัญญา เป็นข้อโต้แย้งของสิ่งนำเข้าที่อะลุ้มอล่วย (Compromise) เพราะการทดสอบเชาว์ปัญญาไม่เคยประเมิน (Assess) หรือจำเป็นต้องอาศัยทักษะการดม ดังนั้น คำอธิบายจึงน่าจะอยู่ในระดับที่ลึกซึ้งกว่านี้ และจะต้องสะท้อนการเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปของชราภาพที่มีผลกระทบต่อทั้งกระบวนการรับรู้และกระบวนการประสาทสัมผัส

การวิจัยพบว่า แม้การเสื่อมถอยของประสาทสัมผัส จะมีสหสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในการรับรู้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ขนาดของสหสัมพันธ์ก็เล็กพอ (Sufficiently small) ที่จะแสดงว่ามีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีบทบาทสำคัญ อาทิ อายุจริงตามปฏิทิน (Chronological age) การดูแลสุขภาพ (Health care) และกิจกรรมของวิถีชีวิต (Lifestyle)

เชาว์ปัญญาในมุมกว้าง (Broad terms) แบ่งตามมาตรวัดทางจิตวิทยา (Psycho-metrics) เป็นเชาว์ปัญญาไหล (Fluid intelligence) กับเชาว์ปัญญาผลึก (Crystallized intelligence) การวิจัยหลายครั้งพบว่า การเปลี่ยนแปลงในทักษะเชาว์ปัญญาในช่วงปลายของชีวิตมีสหสัมพันธ์ค่อนข้างสูงกับเชาว์ปัญญาโดยทั่วไป (General intelligence)

นักวิจัยค้นพบเชาว์ปัญญาที่สัมพันธ์กับชราภาพดังต่อไปนี้ ความทรงจำในรายการชื่อคำ (Word list) การแยกแยะภาพเห็น (Visual image) ที่เพิ่งนำเสนอไป (Briefly presented) การรับรู้รูปแบบ (Pattern recognition) การเรียงอักษรเพื่อให้เกิดคำใหม่ (Anagram) การแก้ปัญหาประจำวัน และความเร็วในการวางแผนเส้นทางขับรถ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงปลายยอดของภูเขาน้ำแข็งขนาดมหึมา (Tip of massive iceberg) เพราะมีรายการยาวเหยียดเป็นหางว่าว

การเสื่อมถอยในทักษะที่พบเห็นไปทั่ว (Ubiquitous) ซึ่งต้องอาศัยเชาว์ปัญญา นำไปสู่คำพูดของนักวิจัยผู้หนึ่งที่มีชื่อเสียงโดงดังว่า “การเปลี่ยนแปลงสมรรถนะทางเชาว์ปัญญา (Intelligence competency) ที่เกิดจากชราภาพ อาจวัดผลได้ด้วยการทดสอบที่ง่ายและสั้นของเชาว์ปัญญาโดยทั่วไป มากกว่ามาตรวัดเฉพาะของการรับรู้ (Specific cognitive measure)”

แม้คำพูดนี้จะจงใจกล่าวอ้างเกินความจริง (Deliberately overstated) แต่ส่วนใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงในเชาว์ปัญญาในช่วงปลายของชีวิต มักผูกพัน (Tied) กับการเสื่อมถอยในเชาว์ปัญญา อย่างไรก็ตาม การพบเห็นไปทั่วของเชาว์ปัญญาโดยทั่วไป ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ โดยเฉพาะการทดสอบเชาว์ปัญญามักทำบนพื้นฐานของห้องปฏิบัติการ (Laboratory-based) ดังนั้น ผลลัพธ์ของมาตรวัดอาจไม่มีสหสัมพันธ์ที่เชื่อถือได้กับโลกแห่งความเป็นจริง (Real world)

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Observing Changes: The Inner Intelligence of our Sensory Perceptions - https://www.linkedin.com/pulse/observing-change-inner-intelligence-our-sensory-michael-vasquez [2016, August 23].