จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 69 : ข้อสมมุติฐานสมองกลีบหน้า

จิตวิทยาผู้สูงวัย

การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างสมอง ไม่ได้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน (Uniform) แต่มีแนวโน้มของการเชื่อมโยงในบางอาณาบริเวณ การศึกษาหลายครั้งแสดงว่า บริเวณ (Region) ที่ได้รับผลกระทบอย่างมากคือสมองกลีบหน้า (Frontal lobe) ซึ่งมีการบันทึก (Document) มากมายในเรื่องการทำงาน (Function) ของอวัยวะส่วนนี้ในช่วงปลายของชีวิต

สมองกลีบหน้าเกี่ยวข้องในหลากหลายรูปแบบของกระบวนการความคิด (Thought process) ที่ซับซ้อน โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับลำดับการวางแผน (Planning sequence) หรือการจดจำ (Remembering) ลำดับที่เหตุการณ์เกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังมีประจักษ์หลักฐานว่าผู้สูงอายุซึ่งแสดงความเสื่อมถอยในทักษะล้วนเกี่ยวข้องการสมองกลีบหน้า

ในหลายๆ กรณี กิจกรรมของสมอง (Brain activity) ในงานเฉพาะอย่าง (Specific task) ก่อให้เกิดการสนองตอบ (Response) ที่หลากหลาย และการทำงานหลัก (Principal) ของสมองกลีบหน้า คือการขัดขวาง (Inhibit) การสนองตอบที่ไม่จำเป็น เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการสนองตอบที่ถูกต้อง (Correct)

ในกรณีอื่นๆ การสนองตอบจำนวนมาก อาจถูกสร้างขึ้นจากสมองกลีบหน้าเพื่อให้ได้ลำดับที่ถูกต้อง โดยที่ลำดับอื่นๆ จะถูกขัดขวาง แม้สมองกลีบหน้าแสดงว่าอายุที่สูงขึ้นเชื่อมโยงกับความสามารถในงานรับรู้ (Cognitive task) ที่ลดลง แต่มักจะไม่ใช่อาณาบริเวณเดียว (Sole area) ของสมองที่เกี่ยวข้องด้วยอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ตาม คำเตือน (Caveat) ที่สำคัญก็คือ แม้ว่าสมองกลีบหน้ามีความสำคัญต่อความเชื่อ (Claim) ที่ว่า เชาว์ปัญญาทั่วไป (General intelligence) สะท้อนหน้าที่การควบคุมของสมองกลีบหน้า แต่ปัจจุบันประเด็นนี้ได้กลายเป็นคำถามคาใจ (Questionable) เพราะในหลายๆ กรณี ความบกพร่อง (Deficit) ของสมองกลีบหน้า ที่พบในผู้สูงวัยมีความแตกต่างในเชิงคุณภาพ (Qualitatively distinct) จากที่พบเห็นในผู้ป่วยที่สมองกลีบหน้าถูกทำลาย (Damage)

นักวิจัยยังพบว่า การไม่สามารถอธิบายความแปรปรวนในเรื่องความน่าเชื่อถือทางสถิติ (Statistical reliability) และการพิสูจน์ (Validity) ในเรื่องความแปรปรวนของการทดสอบสมองกลีบหน้า อาจนำไปสู่การประมาณการที่ไม่แม่นยำ (Inaccurate estimate) ของการสูญเสียการทำงาน (Loss of function) ของสมองกลีบหน้า

นักวิจัยยังค้นพบว่า ความบกพร่องในการทำงาน (Dysfunction) ของสมองกลีบหน้า เป็นสาเหตุสำคัญ (Prime) การเชื่อมโยงอายุที่สูงขึ้นกับความสามารถในงานรับรู้ (Cognitive task) ที่ลดลง และแม้ว่าอาณาบริเวณอื่นๆ ของสมองอาจก่อให้เกิด (Contribute) รูปแบบ (Pattern) ของความเสื่อมถอยที่สัมพันธ์กับอายุ แต่ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ในชราภาพด้วย

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าปัญหาสมองกลีบหน้าจะเป็นสาเหตุของความเสื่อมถอยที่สัมพันธ์กับอายุ หรือเป็นผล หรือเป็นทั้งเหตุและผล แต่ก็น่าจะเป็นปัจจัยในการพิจารณาเรื่องความเสื่อมถอยในทักษะทางปัญญา (Intellectual skill) ที่สัมพันธ์กับอายุที่สูงขึ้น

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. The frontal lobe hypothesis evaluated - http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11011517 [2016, August 9].