จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 67 : ปริมาตรสมองกับเชาว์ปัญญา (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาตอบสนอง (Reaction time) กับ ผลลัพธ์ทางเชาว์ปัญญา (Intellectual performance) เป็นเรื่องที่ซับซ้อน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีคำเตือน (Caveat) ดังกล่าว เวลาตอบสนองก็เป็นเพียงการวัด (Gauge) หนึ่งของสุขภาพประสาท (Neural health) และความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ดัชนีชี้วัดอื่นๆ อาจมีสหสัมพันธ์กับเชาว์ปัญญา

ตัวอย่างเช่น เป็นที่รับรู้ (Established) กันว่า การสูญเสียปริมาตร (Volume) ของสมองจากชราภาพ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เพียงแต่ขนาดอย่างแม่นยำ (Precise size) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ปรากฏการณ์ที่คล้ายกันนี้ ก็เป็นที่สังเกตเห็นในนานาส่วนย่อย (Sub-section) ของสมอง อาทิ อาณาบริเวณเปลือกนอก (Cortical region) ที่ควบคุมมือข้างที่ไม่ถนัด (Non-dominant hand)

การสูญเสียเนื้อเยื่อ (Tissue) ของสมองอย่างรุนแรง (Severe) ในกรณีโรคสมองเสื่อม (Dementia) มีผลที่เป็นหายนะ (Catastrophic) ต่อการทำงานทางจิต (Mental functioning) อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมโยงนี้ ก็สามารถพบเห็นในกรณีชราภาพตามปรกติ

ตัวอย่างเช่น นักวิจัยสร้างภาพจากสนามคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging : MRI) ในการตรวจสอบสมองของผู้เข้ารับการวิจัย พบว่า ประมาณ 14% ของความแปรปรวน (Variance) ของทักษะการรับรู้ คิดว่าเกิดจาก (Attributable) ความผิดปรกติ (Abnormality) ในสสาร (White matter) สีขาวของสมองผู้เข้ารับการวิจัย

สสารสีขาวดังกล่าวมีชื่อว่า “Myelin” ปกคลุมเส้นประสาท โดยเป็นส่วนจำเป็นในการส่ง (Transmission) ข้อมูล ส่วนสสารสีเทา (Grey matter) อาทิ องคาพยพเซลล์ (Cell body) และจุดประสานประสาท (Synapse) รับผิดชอบต่อการประมวล (Processing) ข้อมูล

การวิจัยชิ้นอื่นแสดงว่า สสารขาวเพิ่มขึ้นในปริมาตร ผ่านชีวิตผู้ใหญ่วัยต้น ก่อนที่จะเสื่อมถอยในผู้ใหญ่วัยกลางและผู้ใหญ่วัยท้าย ซึ่งสะท้อน (Echo) การค้นพบเส้นโค้งอายุแต่ดั้งเดิม (Classic aging curve) ของการเปลี่ยนแปลงทางเชาว์ปัญญา

นักวิจัยพบการเสื่อมถอยที่เห็นเด่นชัด (Pronounced) ในปริมาตรของสมอง ตรงกลีบขมับส่วนกลางหน้า (Anterior medial temporal lobe) ในผู้ใหญ่วัยต้น ซึ่งเป็นตัวพยากรณ์ (Predictor) ที่สำคัญของการจู่โจม (Onset) ของความเสื่อมถอยในการรับรู้อย่างอ่อน (Mild cognitive impairment : MCI)

MCI เป็นรากฐาน (Essence) ของการเสื่อมถอยในเชาว์ปัญญามากกว่าที่คาดหวังกันในชราภาพโดยทั่วไป แต่ร้ายแรงน้อยกว่าที่พบในโรคสมองเสื่อม นอกจากนี้การลดลงของปริมาตรสมองในเวลาต่อมาเป็นสิ่งธรรมดาสามัญในผู้สูงวัย พร้อมด้วย MCI มากว่าในผู้สูงวัยโดยทั่วไป ซึ่งแสดงการเสื่อมถอยที่ไม่มากหรือไม่เสื่อมถอยอีกต่อไป

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Neuroscience and intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Neuroscience_and_intelligence [2016, July 26].