จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 63 : กฎแห่งการไม่ใช้ (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

การศึกษาในเวลาต่อมา นักวิจัยพบว่า นักออกแบบรูปภาพ (Graphic designer) ผู้สูงอายุ เมื่อได้รับการฝึกอบรมในวิธีเพิ่มความทรงจำ (Method of loci) แสดงคะแนนทดสอบที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มากกว่ากลุ่มที่ควบคุม หรือผู้เยาว์วัย แต่คะแนนทดสอบที่เพิ่มขึ้น ก็ยังต่ำกว่าคะแนนทดสอบของกลุ่มผู้เยาว์วัยอยู่ดี

แม้จะไม่สามารถชดเชยการเปลี่ยนแปลงของการรับรู้ในช่วงปลายของชีวิต ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ “กฎแห่งการไม่ใช้” (Law of Disuse) อย่างหนัก (Sternest critic) ก็ยังเห็นประโยชน์ส่วนบุคคลมากมาย (Considerable) ของการออกกำลังจิตที่แข็งขัน (Demanding mental exercise) และศรัทธา (Faith) ในความคิดที่ช่วยขจัด (Stave off) การเสื่อมถอยของทักษะ

นักวิจัยยังขยายขอบเขตของการชดเชย เพื่อครอบคลุมตลอดช่วงชีวิต (Whole life-span) โดยรูปแบบของ SOC Model ซึ่งเป็นคำย่อของ 3 ปัจจัย ในการพัฒนาภาวะผู้ใหญ่ (Adulthood) ผ่านการคัดเลือก (Selection) สิ่งที่เราต้องการเชี่ยวชาญ ตามด้วยการปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Optimization) แล้วลงเอยในช่วงปลายของชีวิตด้วยกลยุทธ์การชดเชย (Compensation) เพื่อปกป้องการเสื่อมถอยของทักษะ

มีหลากหลายวิธีที่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นได้ อาทิ ส่วน “สำรองการรับรู้” (Cognitive reserve) ซึ่งเป็นสิ่งที่ “เผื่อเหลือเผื่อขาด” (Buffer) ของความสูญเสียของผู้คนซึ่งมีระดับเชาว์ปัญญา (Intelligence Quotient : IQ) หรือการศึกษาสูง ในขั้นพื้นฐาน บุคคลเหล่านั้น สามารถทนทาน (Afford) ต่อการสูญเสีย ก่อนการเสื่อมถอยของผลงานด้านเชาว์ปัญญา (Intellectual performance) จะเริ่มปรากฏเด่นชัด แม้จะมีผู้กังขา (Doubt) ในประเด็นนี้ก็ตาม

ยังมีคำอธิบายว่า เมื่อกลไกลของประสาท (Neural mechanism) เสื่อมถอยลง ก็มักมีการชดเชย (Offset) ด้วยการเพิ่มการใช้กลีบหน้าผากส่วนหน้า (Pre-frontal cortex) อันนำไปสู่ “ทฤษฎีนั่งร้านของชราภาพและการรับรู้” (Scaffolding theory of aging and cognition : STAC) ที่โต้เถียงว่า กลไกของ “นั่งร้าน” ได้รับการสนับสนุนจากการฝึกซ้อม (Rehearsal) การใช้ทักษะหลายๆ ครั้ง อันทำให้รูปแบบของการชดเชย เป็นไปตามครรลองที่กล่าวมาข้างต้น

นอกจากนี้ ยังมีนักวิจัยที่เชื่อในประจักษ์หลักฐานของ “การลดความแตกต่าง” (De-differentiation evidence) และรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางประสาท (Model of neurological change) ที่เกี่ยวข้องกับ “การปั้นแต่งได้” (Plasticity) ของเซลล์ประสาท (Neuron) ทั้งที่อยู่ภายในกลีบหน้าผากส่วนหน้าและบริเวณรอบๆ สมอง

อย่างไรก็ตาม ยังมีนักวิจัยที่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง จาก “กฎแห่งการไม่ใช้” โดยโต้แย้งว่า การฝึกปรือทักษะ เป็นการออกกำลังที่ไร้ผล (Fruitless exercise) เนื่องจากชราภาพเกิดจากกระบวนการทางชีวภาพ (Biological process) ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inexorable)

แต่การชะลอการทำงานของร่างกาย (Bodily function) นี้นำไปสู่การลดลงในประสิทธิภาพของกระบวนการทางจิตใจ (Mental process) เพื่อให้เข้าใจข้อโต้แย้งนี้อย่างถ่องแท้ เราจำต้องถอยหลังไป 1 ก้าว เพื่อพิจารณาว่า จะวัดผลการชะลอลงนี้ได้อย่างไร?

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Edward Thorndike - https://en.wikipedia.org/wiki/Edward_Thorndike [2016, June 28].