จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 60 : กฎแห่งการไม่ใช้ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

การรับรู้ในวัยชรา (Cognitive aging) หรือความสามารถในการดำรงความคิดอ่าน (Retaining mental ability) เป็นสัญญาณ (Augur) ที่ดีของสุขภาพทางกาย (Physical health) และการมีอายุยืนนาน (Longevity) ดังนั้น จึงมีการเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพกับเชาว์ปัญญา ซึ่งสร้างภาพในจิตใจ (Mental image) ของการออกกำลังกายที่มีคุณประโยชน์ (Beneficial) ต่อการรับรู้ในวัยชรา คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วการออกกำลังจิต (Mental exercise) ล่ะ?

คำพูดที่ได้ยินกันบ่อยก็คือ “ไม่ใช้ก็สูญเปล่า” (Use it or lose it) ในทางจิตวิทยา ได้มีการปรับแต่งใหม่ (Refine) แล้วเรียกว่า “กฎแห่งการไม่ใช้” (Law of Disuse) ซึ่งมีความเชื่อว่า การเสื่อมถอยที่เกี่ยวข้องกับชราภาพ เกิดจาก (Attributable to) การไม่ใช้ทักษะ จนในที่สุด (Eventually) เป็นการสูญสิ้น

การพิสูจน์ทฤษฎีนี้ว่าเป็นจริง หรือไม่จริง (Disprove) ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ง่ายนัก การพบว่าผู้สูงอายุใช้ทักษะน้อยลง และระดับการทำงาน (Performance) ของทักษะนั้นก็ลดลง เป็นสิ่งที่คลุมเครือ (Ambiguous) ทักษะอาจเสื่อมถอย เพราะปราศจากการฝึกปรือ (Practice) มากกว่า

อย่างไรก็ตาม ทักษะอาจแย่ลง เพราะความเสื่อมถอยของร่างกาย (Physical decay) ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียแรงจูงใจ (Motivation) ที่จะฝึกปรือต่อไป หรือทักษะอาจแย่ลงเพราะความเสื่อมถอยของตัวมันเอง ทั้งๆ ที่ยังมีการฝึกปรือหรือมีแรงจูงใจ ผลการศึกษาหลายครั้ง ยืนยันผลลัพธ์นี้

ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาครั้งหนึ่ง สถาปนิก (Architect) และนักบิน (Airline pilot) ได้แสดงการเสื่อมถอยตามอายุที่เพิ่มขึ้นในงานที่เกี่ยวข้องกับเทศะ (ตำแหน่งแห่งที่) [Spatial task] แม้จะได้ใช้ทักษะดังกล่าวทุกๆ วันในชีวิตการทำงาน

แต่ก่อนที่จะแตกตื่น (Panic) กันว่า สถาปนิกวัยชรา ไม่สามารถออกแบบอาคารที่ปลอดภัย หรือนักบินสูงอายุ ไม่สามารถขับเครื่องบินด้วยความปลอดภัย ต้องขอตอกย้ำว่า การเสื่อมถอยเหล่านี้ เกิดจากการเปรียบเทียบกับสถาปนิกหรือนักบินเยาว์วัยเท่านั้น อันที่จริง ทักษะของวิชาชีพทั้งสองยังคงอยู่ในระดับสูง

ในอีกวิธีการ (Approach) หนึ่งต่อการรับมือกับปัญหา นักวิจัยตรวจสอบผลกระทบของการกระตุ้นเชาว์ปัญญา (Intellectual stimulation) ต่อระดับทักษะการรับรู้ (Cognitive) แล้วโต้เถียงว่า ถ้า “กฎแห่งการไม่ใช้” เป็นจริง เราก็สามารถตั้งข้อสมมุติฐานได้ 3 ประการ

ประการแรก ผู้มีอายุยิ่งสูงขึ้น น่าจะมีระดับการกระตุ้นเชาว์ปัญญายิ่งลดลง เพราะระดับการฝึกปรือที่ลดลง ผลการวิจัยผู้มีอายุระหว่าง 20 ปี ถึง 91 ปี ยืนยันผลสรุปนี้ ประการที่ 2 น่าจะมีสหสัมพันธ์ในเชิงบวกระหว่างระดับการกระตุ้นกับระดับการทำงาน (Functioning) กล่าวคือ ผู้ชาญฉลาดกว่า จะรายงานการกระตุ้นเชาว์ปัญญาในชีวิตที่มากกว่า แต่การวิจัยในประเด็นนี้ ไม่เป็นจริงตามข้อสมมุติฐาน ประการที่ 3 น่าจะมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างอายุขัยกับระดับการกระตุ้นในการพยากรณ์การทำงานของเชาว์ปัญญา เพราะการฝึกปรือช่วยขจัด (Stave off) ผลกระทบของวัยชรา แม้จะเป็นประเด็นที่ค่อนข้างซับซ้อน (Complex) แต่ข้อมูลที่เก็บมาวิเคราะห์มิได้สนับสนุนแนวความคิดประการสุดท้ายนี้เลย

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Edward Thorndike - https://en.wikipedia.org/wiki/Edward_Thorndike [2016, June 7].