จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 57 : เชาว์ปัญญาที่แปรปรวน (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

มีวิธีการ (Approach) หลากหลายในการประเมิน “ความรอบรู้” (Wisdom) อาทิ ความพยายามให้คำนิยามตามตัวแปรการผลวัดทางจิต (Psychometric parameter) โดยเชื่อมโยง “ความรอบรู้” กับอุปนิสัยทางปัญญา (Intellectual trait) แล้วสรุปผลว่า แนวความคิดของ “ความรอบรู้” คือการค้นหาความสมดุลระหว่างพลังที่ขัดแย้งกัน (Conflicting forces)

ตัวแปรการวัดผลทางจิต ยังพยามยามเชื่อมโยง “ความรอบรู้” กับประสบการณ์ตลอดชีวิต (Life-time experience) ของความขัดแย้งส่วนบุคคล และการแก้ไข (Resolution) ดังกล่าว

นอกจากนี้ นักวิจัยยังนิยาม “ความรอบรู้” ในมิติของนักปราชญ์ (Sagacity) ในการใช้ตัดสินใจ (Judgement) ปัญหาของชีวิต อาทิ การให้คำแนะนำที่ดี และทักษะทางสังคมที่มีประสิทธิผล (Competent)

แต่ก็มีประจักษ์หลักฐานเชิงประสบการณ์ (Empirical evidence) ที่พบความสัมพันธ์ระหว่าง “ความรอบรู้” กับ เชาว์ปัญญา ที่อาจได้รับอิทธิพล (Temper) จากอุปนิสัยบุคลิกภาพ (Personality trait) พอๆ กับไม่ขึ้นอยู่กับ (Independent) ปัจจัยเหล่านี้

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แม้ว่า “ความรอบรู้” เป็นส่วนหนึ่งของผลผลิต (Product) ของบุคลิกภาพและเชาว์ปัญญา (ซึ่งไม่น่าประหลาดใจ) แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้

นักวิจัยยังค้นพบว่า “ความรอบรู้” เป็นความสามารถที่ให้คุณประโยชน์ (Beneficial) และมีสหสัมพันธ์กับความพึงพอในชีวิต (Life satisfaction) ของผู้สูงอายุ และกับการเตรียมพร้อมรับมือกับความตาย แต่ที่น่าสนใจก็คือ “ความรอบรู้” มิได้ช่วยจรรโลง (Preserve) ชราภาพ กล่าวคือ ไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่า ผู้สูงอายุจะฉลาดกว่า (Wiser) ผู้ใหญ่ (Adult) กลุ่มอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม การวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าผู้ใหญ่สูงวัย ทำคะแนนแบบสอบถาม (Test score) สูงในด้านความรักใคร่ (Affective) ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และในด้านสะท้อนกลับ (Reflective) ของการพิจารณาปัญหา แม้ทักษะพื้นฐานของ “ความรอบรู้” จะไม่ขึ้นอยู่กับอายุขัย แต่ผู้สูงอายุก็ยังแสดงทักษะที่ชำนาญกว่าในบางด้านของประเด็นที่สัมพันธ์กับ “ความรอบรู้”

เรามักพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในช่วงปลายของชีวิต โดยมุ่งเน้นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคะแนนแบบสอบถามของเชาว์ปัญญา เมื่อผู้คนมีอายุมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่ากัน ก็คือทำไมการเปลี่ยนแปลงในคะแนนแบบสอบถามจึงเกิดขึ้น? ทฤษฎีหนึ่งซึ่งเด่นชัด (Prominent) ก็คือความสมบูรณ์ของร่างกาย (Physical fitness) และสุขภาพมีสหสัมพันธ์กับเชาว์ปัญญาในผู้สูงอายุ

ทฤษฎีนี้สามารถสาธิต (Demonstrated) ให้เห็นเด่นชัดได้ เนื่องจากเป็นที่รับรู้กัน (Well-established) ว่า การออกกำลังกาย (Physical exercise) สามารถปรับปรุงบางมิติ (Aspect) ของผลการทำงาน (Performance) ของเชาว์ปัญญาได้

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Aging: Changes in Intellectual Capacity - http://www.brainfacts.org/across-the-lifespan/youth-and-aging/articles/2012/aging-changes-in-intellectual-capacity/ [2016, May 17].