จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 56 : เชาว์ปัญญาที่แปรปรวน (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ความแปรปรวน (Variability) จะมีมากขึ้นในผู้สูงอายุ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เยาว์วัย โดยเฉพาะในมาตรวัดการรับรู้ (Cognitive measure) อาทิ เวลาที่ใช้ในการสนองตอบ (Reaction time) และในมาตรวัดของความทรงจำ แต่ขนาดของความแปรปรวน อาจแตกต่างกันมาก (Considerable) ในงานที่ใช้ทักษะอื่นๆ ของเชาว์ปัญญา

ในช่วงต้นของการศึกษาเรื่องเชาว์ปัญญา นักวิจัยเชื่อว่า ในวัยเด็ก ทุกทักษะย่อยของเชาว์ปัญญามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แต่เมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทักษะย่อยของเชาว์ปัญญา จะเริ่มมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันน้อยลง แต่ก็มีนักวิจัยอื่นที่ค้นพบว่า กระบวนการในช่วงปลายของชีวิต จะกลับกัน (Reverse) กับช่วงกลางของชีวิต

กล่าวคือ ทักษะย่อยจะกลับมามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุมากขึ้น เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “การลดความแตกต่าง” (De-differentiation) หรือ “การเพิ่มความเหมือน” (Re-integration) อย่างไรก็ตาม ยังเป็นที่ถกเถียงกันในงานวิจัยหลายๆ ชิ้นว่า ประเด็นนี้มีอยู่จริง (Exist) หรือไม่?

ภาพ “แบบเหมารวม” (Stereotype) ของชราภาพ ก็คือช่วงเวลาของการเสื่อมถอยในเรื่อง “ไหวพริบ” (Wit) แต่เพิ่มขึ้นในเรื่อง “ความรอบรู้” (Wisdom) จึงมักเป็นที่เข้าใจกันว่า ไหวพริบก็คือเชาว์ปัญญาเหลว (Fluid intelligence) และความรอบรู้ก็คือเชาว์ปัญญาผลึก (Crystallized intelligence) ซึ่งก็คงไม่ผิด

เหตุผลก็คือ เชาว์ปัญญาผลึก เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ ดังนั้น “ความรอบรู้” ก็ต้องเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ (Part and parcel) ของนิยามนี้ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาคำว่า “ความรอบรู้” แล้วพบข้อถกเถียงกันว่า จะนิยามคำว่า “ความรอบรู้” ในบริบทของการวิจัย (Research setting) อย่างไร?

นักวิจัยบาง เชื่อว่า “ความรอบรู้” มีความหมายเดียวกัน (Synonymous) กับเชาว์ปัญญาผลึก แต่นิยามนี้มุ่งเน้น (Center) ที่แนวความคิด (Concept) ว่า “ความรอบรู้” เกี่ยวข้องกับการผลิต (Produce) คำตอบที่เน้นการปฏิบัติได้ (Pragmatic) มากกว่าคำตอบเพียงตามหลักตรรกะ (Purely logical)

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คำตอบที่เน้นการปฏิบัติได้ มักไม่ผิดพลาด (Watertight) ตามหลักตรรกะ แต่คงต้องพิจารณาอารมณ์ (Emotion) ด้วย เพื่อความรู้สึกของสังคมที่เป็นระเบียบ (Sense of social order) อย่างไรก็ตาม มาตรวัดของ “ความรอบรู้” มักตั้งอยู่พื้นฐานของความขัดแย้งทางจริยธรรม (Moral dilemma) ในโลกแห่งความเป็นจริง (Realistic) ตัวอย่างเช่น หากเพื่อนสนิทของคุณป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต (Terminally ill) ต้องการจะฆ่าตัวตาย (Suicide) คุณจะว่าอย่างไร? ดังนั้น นิยามนี้จึงเอื้ออำนวยต่อการผลิตคำตอบที่เน้นการปฏิบัติได้

นอกจากนี้ การทำคะแนนแบบสอบถามให้ได้ดี ผู้เข้าร่วม (Participant) การวิจัย ยังต้องคำนึงปัจจัยทางสังคม (Social consideration) เพราะอันที่จริงแล้ว “ความรอบรู้” เป็นทักษะทางสังคม (Social skill) มากกว่าทักษะทางปัญญา (Intellectual skill) จนมีการเรียกทักษะทั้งสองว่า “การรับรู้ประกอบร่วม” (Assembled cognition)

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Aging: Changes in Intellectual Capacity - http://www.brainfacts.org/across-the-lifespan/youth-and-aging/articles/2012/aging-changes-in-intellectual-capacity/ [2016, May 10].