จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 55 : เชาว์ปัญญาที่แปรปรวน (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

เชาว์ปัญญาเหลว (Fluid intelligence) คือความสามารถในการแก้ปัญหาใหม่ (Novel) ส่วนเชาว์ปัญญาผลึก (Crystallized intelligence) คือการแก้ปัญหาที่อาศัยความรู้ที่มีมาก่อนหน้านี้ ความแตกต่างระหว่างเชาว์ปัญญาทั้งสอง แสดงให้เห็นว่า ทักษะเชาว์ปัญญา มิได้เสื่อมถอยลงในลักษณะเดียวกัน แต่มีความแปรปรวน (Variability) ระหว่างทักษะ

โดยทั่วไป ทักษะใดต้องอาศัยเชาว์ปัญญาผลึกมาก ทักษะนั้นจะเสื่อมถอย [ตามอายุขัย] น้อย

นักวิจัยแบ่งงานเชาว์ปัญญา (Intellectual Task) ออกเป็น 6 ทักษะย่อย (Sub-skill) ดังนี้

  1. การใช้เหตุผลสรุป โดยกำจัดข้อมูลใหม่ที่ไม่ใช่ออกไป (Inductive)
  2. การใช้เหตุผลสรุปตามเทศะ [สถานที่] (Spatial)
  3. ความเร็วในการสนองตอบสิ่งเร้า (Stimulus) อาทิ แสงกระพริบ (Flash of light)
  4. ความสามารถเกี่ยวกับตัวเลข (Numeric)
  5. ความสามารถในการใช้วาจา (Verbal)
  6. ความทรงจำในเรื่องคำ (Word)

ความสามารถในการใช้วาจา แสดงผลการเสื่อมถอยของทักษะที่ไม่สัมพันธ์กันหรือสัมพันธ์น้อยกับอายุขัย ซึ่งไม่น่าประหลาดใจ เพราะงานที่ต้องอาศัยความสามารถในการใช้วาจาจำนวนมากที่ใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ก็ถูกใช้ในการประเมินเชาว์ปัญญาผลึกด้วย อย่างไรก็ตาม มาตรวัดอื่นๆ แสดงผลการเสื่อมถอยของทักษะเมื่อผู้คนมีอายุมากขึ้น

แม้ผลลัพธ์เหล่านี้อธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนเมื่อเข้าสู่วัยชรา แต่ในระดับส่วนบุคคลแล้ว รูปแบบการเปลี่ยนแปลง (Change pattern) อาจแตกต่างอย่างถอนรากถอนโคน (Radical) นักวิจัยจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่า ไม่มีใคร 2 คนที่เหมือนกันเป๊ะ (Precise) เพราะเมื่อลงในรายละเอียดแล้ว มักพบว่าแต่ละบุคคลโดดเด่นอย่างไม่ซ้ำแบบใคร (Unique)

ในระดับที่กว้างขึ้น ก็แทบเป็นไปไม่ได้ (Hyperbole) จากจำนวนนับพันล้านคนในโลกใบนี้ ที่บุคคล 2 คน จะมีรูปแบบที่เหมือนกันเมื่อสูงวัยขึ้น หรือในทางกลับกัน ผู้คนแตกต่างกันมาก (Enormous) ในวิถีชราภาพ ดังนั้น ความเสื่อมถอยในทักษะของกลุ่มคนโดยเฉลี่ย มิได้หมายความว่า ทุกๆ คนในกลุ่มจะเสื่อมถอยในทักษะในรูปแบบเดียวกัน

ในการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) นักวิจัยพบว่า กลุ่มผู้สูงวัยที่ได้รับการทดสอบทุกๆ ปี เป็นเวลา 6 ปี มีความแปรปรวนอย่างมาก (Considerable variation) ในรูปแบบของการเสื่อมถอยในทักษะของแต่ละคน แม้จะมีกาเสื่อมถอยในทักษะย่อยหนึ่ง มักจะตามมาด้วยการเสื่อมถอยในทักษะย่อยอื่น แต่มิใช่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ระดับความสามารถในการทำงาน (Performance) เมื่อเริ่มต้นศึกษา มิได้เป็นสิ่งบ่งชี้ (Indicator) ของอัตราเสื่อมถอยในนานาทักษะ เมื่อการศึกษาดำเนินต่อไป (Progress) หากเรามองข้ามความทรงจำที่เสื่อมลง (Dementia) ก็จะพบว่า ทักษะของบางคนจะเสื่อมถอยมากกว่าคนอื่น

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Aging: Changes in Intellectual Capacity - http://www.brainfacts.org/across-the-lifespan/youth-and-aging/articles/2012/aging-changes-in-intellectual-capacity/ [2016, May 3].