จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 54 : ประเภทของเชาว์ปัญญา (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

“มาตรวัดเชาว์ปัญญาผู้ใหญ่เวคสเล่อร์” (Wechsler Adult Intelligence Scale : WAIS) เป็นเรื่องของการทดสอบความสามารถในการจดจำและการใช้ระบบรหัสเลข แต่เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องเวลา (Time constraint) จึงต้องอาศัยความเร็วในการบันทึก แต่ผู้สูงอายุก็มักจะเชื่องช้าในการเขียน เนื่องจากปัญหาทางร่างกายด้วย

ปัญหาดังกล่าวได้แก่ ข้ออักเสบ (Arthritis) ข้อต่อและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันกัน (Rheumatism) หรือเป็นเพียงการอ่อนกำลังของกล้ามเนื้อ (Muscle) และข้อ (Joint) ดังนั้น ผู้สูงอายุอาจทำคะแนนสอบได้ไม่ดี ไม่ใช่เพราะความล้มเหลวของการประมวลทางจิต (Mental process) แต่เป็นเพราะไม่สามารถเขียนคำตอบได้รวดเร็วพอ

ในการประเมินว่าผู้สูงอายุสูญเสียเวลาไปเท่าไรในการเขียนคำตอบ นักวิจัยวัดผลจากจำนวนสัญลักษณ์ (Symbol) ที่ผู้สูงอายุสามารถบันทึกได้ในเวลา 90 วินาที แล้วใช้เป็นดัชนี (Index) ชี้วัดความเร็วในการเขียน เพื่อเปรียบเทียบกับผลลัพธ์จากการทดสอบ แล้วพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของวัยที่แตกต่าง (Age difference) เกิดจากความเร็ว-ช้า ในการเขียนของผู้รับการทดสอบ

ผลการวิจัยแสดง (Demonstrate) ว่าข้อจำกัดทางร่างกายอาจทำให้การแสดงผลความแตกต่างทางจิตใจ (Psychological difference) เกินความจริง (Exaggerate) แม้ว่าความแตกต่างทางจิตใจ อาจเหมือนเดิมทั้งในการทดสอบเชาว์ปัญญาเหลว (Fluid intelligence) หรือการขยายตัวพิมพ์อักษร (Print) ให้ใหญ่ขึ้น เพื่อมิให้เป็นปัญหาสายตาของผู้สูงอายุ แต่ผู้สูงอายุก็ยังทำคะแนนสอบสู้ผู้เยาว์วัยไม่ได้อยู่ดี

นักวิจัยยังพบว่า ในการทดสอบเชาว์ปัญญาผลึก (Crystallized intelligence) ซึ่งมิได้มีข้อจำกัดเรื่องเวลา ผู้สูงอายุก็ยังใช้เวลายาวนานกว่าผู้เยาว์วัยในการตอบคำถามแบบทดสอบ และหากมีการเพิ่มข้อจำกัดในเรื่องเวลา ความสามารถของผู้สูงอายุจะยิ่งลดลงมา เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เยาว์วัย

ในการทดสอบศัพทานุกรมของมาตรวัด WAIS ที่หย่อนเกณฑ์ (Lax criteria) จนไม่พบความแตกต่างของอายุ นักวิจัยยังพบว่า ผู้สูงอายุมักให้คำตอบที่ไม่แน่ชัด (Precise) ในการศึกษาข้ามช่วงเวลา (Longitudinal) นักวิจัยยังพบอีกว่า ในผู้สูงอายุ (70 ถึง 103 ปี) ที่มีส่วนร่วมในการสำรวจ ได้ลดลงในเรื่องระดับความรู้ที่ได้รับอิทธิพลจากเชาว์ปัญญาเหลว

นักวิจัยเชื่อว่า แก่นของปัญญา (Essence of wisdom) มิได้อยู่ในสิ่งที่รู้ (What is known) แต่อยู่ที่วิธีใช้ความรู้ (How knowledge is used) ซึ่งหมายความ (Imply) ว่า เมื่อเราเคลื่อนย้ายจากข้อมูลที่สะสมไว้ (Stored information) ไปสู่การแปลผล (Interpretation) การเสื่อมลง [ของเชาว์ปัญญา] ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้

นักวิจัยยังเชื่อว่า ขนาด (Size) ของการเสื่อมลงที่แท้จริง (True) อาจแตกต่างจากที่ได้รับจากการวัดผล ซึ่งมักเป็นหัวข้อ (Theme) ของการวิจัยทางจิตวิทยา เพราะนักวิจัยไม่สามารถเปิดสมอง เพื่อค้นหาความคิดที่เกิดขึ้น จึงต้องอนุมาน (Infer) จากพฤติกรรม ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่อาจป้องกันมิให้ข้อบกพร่อง (Error) คืนคลาน (Creep) เข้ามาในการศึกษา แต่การยอมรับข้อบกพร่องในการวัดผล อาจนำไปสู่ภาวะไม่ระมัดระวัง (Unwary) ในการลงความเห็นจนเกิดความผิดพลาด

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Fluid and crystallized intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Fluid_and_crystallized_intelligence [[2016, April 26].