จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 50 : การเปลี่ยนแปลงในเชาว์ปัญญา (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ผลลัพธ์ในการขจัดปัจจัยทางสถิติ (Statistically remove) เป็นได้ 3 กรณี กล่าวคือ

  1. การค้นพบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ การศึกษาและสุขภาพมิได้มีอิทธิพลต่อความแตกต่างในคะแนนสอบ (Test score)
  2. ความแตกต่างถูกขจัดออก กล่าวคือ ความแตกต่างของกลุ่มอายุ เป็นความบังเอิญ (Coincidental) ทั้งหมดเป็นผลจากความแตกต่างของระดับการศึกษาและสุขภาพ หรือ
  3. ความแตกต่างบรรเทาลง (Lessened) แต่ความแตกต่าง (แม้จะลดน้อยลง) ก็ยังมีนัยสำคัญ (Significant) อยู่ กล่าวคือ ระดับการศึกษาและสุขภาพ ช่วยอธิบายความแตกต่างของกลุ่มอายุ แต่มิใช่ทั้งหมด

เป็นที่รับรู้กันมาหลายทศวรรษแล้วว่า เมื่อตัวแปรร่วม (Confounding variable) ถูกควบคุม ในการศึกษาห้วงเวลาเดียวกัน (Cross-sectional study) ความแตกต่างของอายุ มักเสื่อมถอยลง แต่ไม่ถูกขจัดออก กล่าวคือ ความแตกต่างของอายุ เป็นสิ่งที่เกือบจะหลีกเลี่ยงมิได้ (Inevitable) เนื่องจากผลกระทบตามรุ่น (Cohort effect)

สรุปแล้ว การศึกษาในห้วงเวลาเดียวกัน มักจะทิ้งเป็นปมปริศนาระยะยาว (Linger doubt) ว่า แม้ตัวแปรร่วมบางตัวจะถูกควบคุมไว้ แต่ก็มีตัวแปรอื่นที่ไม่ได้รับการวัดผล ซึ่งอาจจะอธิบายความแตกต่างของอายุที่ควรจะเป็น (Supposed) ด้วยเหตุผลเหล่านี้ การศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal study) อาจดูเหมือนว่า อาจคุ้มค่า (Worth) ที่จะรอคอย เพราะมันสามารถขจัดปัญหาของผลกระทบตามรุ่น

สมมุติว่า เราทดสอบผู้คนที่มีอายุ 20 ปี แล้วรอคอย 50 ปี ก่อนจะทำการทดสอบอีกครั้งเมื่อผู้เข้ารับการทดสอบมีอายุ 70 ปี ความแตกต่างที่ค้นพบ สามารถอธิบายว่าเป็นเพราะชราภาพเพียงปัจจัยเดียว เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้คนเดียวกันที่เราเปรียบเทียบคะแนนทดสอบทั้ง 2 ครั้ง ดังนั้น การศึกษาข้ามห้วงเวลาจึงดูเหมือนเป็นระบบที่ยุติธรรมกว่า

การศึกษาในห้วงเวลาเดียวกัน (Cross-section study) มีแนวโน้มที่จะค้นพบว่า ทักษะของเชาว์ปัญญา เริ่มต้นที่จะเสื่อมลงในช่วงผู้ใหญ่วัยต้น (Early adulthood) เมื่อเริ่มต้นการศึกษาข้ามห้วงเวลา คะแนนดิบมักถูกเก็บกักรักษาไว้ (Preserved) จนกว่าอย่างน้อยจะถึงผู้ใหญ่วัยกลาง (Middle age) และมักจะยาวนานกว่านั้น

ในปี พ.ศ. 2499 กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 20 ปี และ 70 ปี ได้รับการทดสอบ และทดสอบอีกทุกๆ 7 ปี หลังจากนั้น (กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2506, 2513, 2520 ฯลฯ) ในบางช่วงเวลา อาจมีการเพิ่มคนใหม่ๆ เข้ารับการทดสอบ (Participant) นักวิจัยพบว่า ความแตกต่างระหว่างกลุ่มอายุ บางส่วนเกิดจากผลกระทบตามรุ่น (Cohort effect)

ผู้ที่เกิดก่อน ทำคะแนนสอบได้ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่เกิดทีหลัง ตัวอย่างเช่น กลุ่มคนที่ได้รับการทดสอบเมื่ออายุ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2513 จะทำคะแนนสอบได้ต่ำกว่ากลุ่มที่มีอายุ 60 ปีที่ได้รับการทดสอบในปี พ.ศ. 2543 ปรากฏการณ์เช่นนี้ เกิดจากผู้สูงอายุที่เกิดก่อน มิได้มีทักษะของเชาว์ปัญญาของผู้สูงอายุที่เกิดทีหลัง อย่างไรก็ตาม นี่มิได้หมายความว่า การศึกษาข้ามห้วงเวลา เป็นมาตรวัดผลที่ถูกต้องแม่นยำของการเปลี่ยนแปลงในเชาว์ปัญญา

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Does Intelligence Decline with Aging? - http://mentalhealth.about.com/library/sci/1001/bloldsmart1001.htm[2016, March 29].