จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 49 : การเปลี่ยนแปลงในเชาว์ปัญญา (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ตามปรกติ การศึกษาในห้วงเวลาเดียวกัน (Cross-sectional study) ในเรื่อง “เส้นโค้งอายุแต่ดั้งเดิม” (Classic aging curve) เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ง่ายกว่าการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal study) การศึกษาก่อนหน้านี้ (ประมาณปี พ.ศ.2443 ถึง 2473) ล้วนใช้วิธีการของการศึกษาในห้วงเวลาเดียวกัน

นักวิจัยโต้แย้งว่า คะแนนดิบ (Raw score) เริ่มเสื่อมถอยลงจากรูปแบบที่ราบสูง (Plateau) ในช่วงเวลาที่ผู้คนมีอายุอยู่ในราว 30 ปี แม้จะไม่มีผลกระทบต่อส่วนของทักษะการพูด (Verbal skill) [ในการทดสอบเชาว์ปัญญา]

อย่างไรก็ตาม เราต้องชดเชย (Compensate) ความสะดวกของการศึกษาในห้วงเวลาเดียวกันไม่น้อยทีเดียว สมมุติว่า เราศึกษาในห้วงเวลาเดียวกัน แล้วเปรียบเทียบกลุ่มผู้คนอายุระหว่าง 20 ปี กับ 70 ปี และพบว่า กลุ่มที่มีอายุอ่อนกว่า ผ่านการทดสอบทุกประเภทด้วยคะแนนที่สูงกว่ากลุ่มที่มีอายุสูงกว่า

คำตอบที่ฉุกคิดได้ในทันที ก็คือ เนื่องจากลุ่มผู้ที่มีอายุ 20 ปีนั้น อ่อนวัยกว่า [จึงมีเชาว์ปัญญาที่สูงกว่า] กล่าวคือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น น่าจะอธิบายได้ด้วยอายุจริง (Chronological age) อย่างไรก็ตาม นี่อาจไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป เพราะผู้อ่อนวัยกว่า อาจแตกต่างจากผู้สูงวัยในมิติ (Respect) อื่นๆ ตัวอย่างเช่น

  • ผู้สูงวัยในปัจจุบัน มักมีการศึกษาที่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี [ซึ่งต่ำกว่าผู้อ่อนวัยกว่าในปัจจุบัน]
  • ผู้อ่อนวัยกว่า อาจมีวัยเด็กที่แข็งแรงกว่า (Healthy) อย่าลืมว่า ยาปฏิชีวนะ (Anti-biotic) และการฉีดภูมิคุ้มกัน (Immunization) มิได้ถูกค้นพบ ก่อนการเกิดผู้ของคนที่อายุ 70 ปีในปัจจุบัน
  • ผู้อ่อนวัยกว่า สามารถเข้าถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย ผ่านโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต และวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ด้วยการศึกษาอย่างเป็นทางการ (Formal education)

รายการนี้ อาจขยายออกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (Ad infinitum) อย่างไรก็ตาม จุดชัดเจนอยู่ที่ผู้อ่อนวัยกับผู้สูงวัย ไม่เพียงแต่แตกต่างในเรื่องอายุ แต่ยังแตกต่างกันในวิถีที่ได้รับการเลี้ยงดูและประสบการณ์ตลอดชีวิต (Life-time) ความแตกต่างเนื่องจากภูมิหลัง (Background) และการเลี้ยงดู (Up-bringing) ของชั่วอายุคน (Generational difference) แทนที่จะเกิดจากชราภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่า “ผลกระทบตามรุ่น” (Cohort effect)

มีวิธีการหลากหลายที่จะชดเชยผลกระทบตามรุ่น หนึ่งในจำนวนนี้ ก็คือมาตรวัดผลของรุ่นที่อาจบิดเบือน (Distort) ความรู้สึกของนักวิจัย ซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรร่วม” (Confounding variable) ในทางปฏิบัติ เป็นการง่ายกว่าที่จะวัดผลตัวแปรทั้งหมดที่เราสนใจ แล้วใช้วิธีการทางสถิติ ตัดออกซึ่งผลกระทบของตัวแปรร่วม

ในตัวอย่างของการวัดผลระดับการศึกษา สุขภาพทางกาย และคะแนนสอบเชาว์ปัญญา เราต้องการค้นหาว่า มีความแตกต่างของอายุในเรื่องคะแนนสอบเชาว์ปัญญาหรือไม่? แล้วขจัดทางสถิติ (Statistically remove) ในเรื่องจำนวนความแตกต่างของอายุ ที่เกิดจากผลกระทบโดยบังเอิญ (Coincidental) ของปัจจัยการศึกษาและสุขภาพทางร่างกาย

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Does Intelligence Decline with Aging? - http://mentalhealth.about.com/library/sci/1001/bloldsmart1001.htm[2016, March 22].