จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 48 : การเปลี่ยนแปลงในเชาว์ปัญญา (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

เป็นที่รับรู้กัน (Well-established) ว่า เชาว์ปัญญา (Intelligence) เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาของชีวิต (Life-span) ตัวอย่างเช่น ลองพิจารณามาตรวัด (Measure) ของทักษะเชาว์ปัญญา อันได้แก่ จำนวนคำถามที่ตอบถูกในแบบทดสอบเชาว์ปัญญา (ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “คะแนนดิบ” (Raw score)

สมมุติว่า เราพบว่าคะแนนดิบเฉลี่ย (Mean) ของกลุ่มคนที่มีอายุแตกต่างกัน จากเด็กสู่ผู้ใหญ่ (อาทิ คะแนนเฉลี่ยของเด็กอายุ 6 ขวบ เด็กอายุ 7 ขวบ เด็กอายุ 8 ขวบ ฯลฯ ไปเรื่อยๆ จนถึงอายุเฉลี่ยของผู้สูงวัยอายุ 80 ปี ผู้สูงวัยอายุ 81 ปี ผู้สูงวัยอายุ 82 ปี ฯลฯ) แล้วนำค่าเฉลี่ยเหล่านี้ ไปสร้างกร๊าฟ เราจะพบสิ่งที่เรียกว่า “เส้นโค้งอายุแต่ดั้งเดิม” (Classic aging curve)

กล่าวโดยทั่วไป คะแนนดิบเฉลี่ยจะสูงขึ้นตลอดวัยเด็ก (Childhood) และวัยรุ่น (Adolescence) แล้วถึงจุดอยู่ตัวเป็นที่ราบสูง (Plateau) ในช่วงปลายของวัยรุ่น แล้วบางจุดในวัยผู้ใหญ่ เส้นโค้งนี้จะลดลง (Decline) ซึ่งแสดงถึงเชาว์ปัญญาที่จะลดลงในช่วงท้ายของชีวิต

แม้จะมิได้มีใครคิดเห็นขัดแย้ง (Dispute) กับข้อโต้เถียงขั้นพื้นฐาน (Fundamental) นี้ แต่ก็เป็นจุดที่สิ้นสุดลงของความแน่นอน (Certainty) อาจมีคำถามเสริม (Supplementary) มากมาย ซึ่งแต่ละคำถามมักสร้างกลุ่มคำเตือนให้พึงระวัง (Caveats) ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น

  • จะวัดผลการเปลี่ยนแปลงของอายุได้ดีที่สุดอย่างไร?
  • ช่วงไหนของวัยผู้ใหญ่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเสื่อมถดถอย?
  • การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเท่าๆ กัน (Equally) สำหรับทุกประเภทของทักษะเชาว์ปัญญาหรือไม่?
  • แต่ละบุคคลได้แสดงรูปแบบ (Pattern) ของการเปลี่ยนแปลง ที่เหมือนกันไหม?
  • อะไรคือสารเหตุของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้?
  • แล้วการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลกระทบต่อทักษะเชาว์ปัญญาอย่างไรในชีวิตประจำวัน?

หากเราต้องการมองหาความแตกต่างในเชาว์ปัญญา (หรือวิธีการวัดผลอื่นๆ) เรามีทางเลือกง่ายๆ โดยการวัดผลผู้คนเมื่อยังเยาว์วัย แล้ววัดผลอีกครั้ง เมื่อเขามีอายุมากขึ้น ที่เรียกกันว่า “การศึกษาวข้ามห้วงเวลา” (Longitudinal study) หรือเราอาจใช้มาตรวัดเดียวกัน ณ จุดเวลาเดียวกันของผู้อ่อนวัยกับผู้สูงวัย ที่เรียกกันว่า “การศึกษาในห้วงเวลาเดียวกัน” (Cross- sectional study)

การตอบคำถามนี้ อาจดูเหมือนเป็นสิ่งเห็นได้ชัดเจนแม้จะหลับหูหลับตาอยู่ (Blindingly obvious) แต่ก็แทบจะปฏิบัติไม่ได้ (Impractical) ที่จะศึกษาข้ามห้วงเวลา เพราะอาจต้องใช้เวลาชั่วชีวิตคน ตัวอย่างเช่น หากเราปรารถนาที่จะทราบความแตกต่างในเรื่องผลงาน (Task performance) ของผู้คนที่มีอายุ 20 ปี กับอายุ 70 ปี เราคงต้องรอคอยถึง 50 ปี กว่าจะสรุปผลได้ และก็ไม่มีใครมีเวลามากพอที่จะทำเช่นนั้น

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Does Intelligence Decline with Aging? - http://mentalhealth.about.com/library/sci/1001/bloldsmart1001.htm[2016, March 15].