จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 46 : สมองที่เสื่อมลง (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

อายุเป็นปัจจัยความเสี่ยงสำคัญสำหรับโรคประสาทเสื่อม (Neuro-degenerative) ส่วนมาก อันได้แก่ ความเสื่อมลงของการรับรู้อย่างอ่อน (Mild cognitive impairment) โรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s) และโรคลูเก-ริก (Lou Gehrig)

การวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่โรคชราภาพ มีเพียงการศึกษาในเชิงให้ข้อมูล (Informative study) ไม่มากนักที่มุ่งเน้นชีววิทยาโมเลกุล (Molecular biology) ของสมองที่เสื่อมลง (Ageing brain) ในกรณีที่ปราศจากโรคประสาทเสื่อม หรือปราศจากภาพลักษณ์ (Profile) ของจิตประสาท (Neuro-psychological) ในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง

อย่างไรก็ตาม การวิจัยได้เสนอแนะว่า กระบวนการชราภาพ (Ageing process) มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในสมองทางด้านโครงสร้าง (Structural) เคมี (Chemical) และการทำงาน (Functional) ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของประสาทการรับรู้ (Neuro-cognitive)

เป็นที่น่าสังเกตว่า คนเรามีความแตกต่างกันอย่างมาก (Considerable variation) เกี่ยวกับวิธีการที่สมองเสื่อมลงในวัยชรา โดยทั่วไปแล้วการเสื่อมลงของทักษะทางเชาว์ปัญญา (Intellectual) ในวัยชรามีสหสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาตร (Volume) ที่ลดลงของสมอง

ปรากฏการณ์เช่นนี้แปลผล (Interpret) ได้ว่า ความเสื่อมลงทางกายภาพ (Physical) จะส่งผลให้ทักษะทางจิต (Mental) ลดลงไปด้วย แต่ก็อาจโต้แย้งได้ว่า สมองน่าจะปั้นแต่งได้ (Plastic) มากกว่านี้ กล่าวคือ สามารถเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเพื่อสนองตอบต่อสิ่งเร้า (Input) ได้

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงในปริมาตรของสมอง อาจเป็นผลจากความต้องการที่ลดลงของกระบวนการประสาท (Neural process) อันสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและวิถีชีวิต (Life-style)

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สมองเสื่อมลงทางกายภาพ เพราะไม่ได้รับการ “ลับคม” หรือฝึกปรือ (Exercise) อย่างเพียงพอ อันที่จริง ขอบเขตสมองในผู้สูงอายุเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในเชาว์ปัญญาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เปรียบเทียบกับขอบเขตของพฤติกรรมและแนวทางปฏิบัติช่วยบรรเทา (Stave off) การเสื่อมลง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่น่าสนใจของนักวิจัย

นอกจากการเปลี่ยนแปลงในปริมาตรของสมองแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ (Pattern) ของการทำงาน [ของร่างกาย] ในวัยชราอีกด้วย ดังตัวอย่างการทำงานของเครื่องเอกซเร์ย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Functional magnetic resonance imaging : fMRI) ซึ่งไม่เพียงแต่วัดโครงสร้างของสมอง แต่ยังวัดระดับกิจกรรมด้วย

จากผลของ fMRI นักวิจัยได้ค้นพบว่า งาน (Task) หลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำในผู้สูงอายุ มีแนวโน้มเอียงไปยังซีกสมอง (Hemisphere) เพียงซีกเดียว และการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของสมองด้านหน้า (Pre-frontal cortex) เป็นกุญแจสำคัญในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เสื่อมลงในความสามารถของการรับรู้

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Aging brain https://en.wikipedia.org/wiki/Aging_brain [2016, March 1].