จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 44 : ปัญหาการสัมผัสและความเจ็บปวด (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

อันที่จริง ผิวหนัง (Skin) กล้ามเนื้อ (Muscle) เส้นเอ็น (Tendon) ข้อต่อ (Joint) และอวัยวะภายใน (Internal organs) ก็ล้วนมีปลายประสาท (Nerve ending) หรือช่องรับ (Receptor) ที่สามารถตรวจพบ (Detect) นานาความรู้สึก (Sensation) ได้อย่างมีประสิทธิผล

ช่องรับให้ข้อมูลแก่สมองในเรื่องตำแหน่งแห่งที่ (Position) และเงื่อนไข (Condition) ของอวัยวะภายใน ซึ่งช่วยในการตรวจพบการเปลี่ยนแปลง อาทิ ความเจ็บปวดจากไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)

สมองคนเราจะแปลผล (Interpret) ประเภทและปริมาณของความรู้สึกสัมผัสที่แตกต่างกัน อันอาจน่ารื่นรมย์ (Pleasant) อาทิ อบอุ่นอย่างสบาย หรือไม่น่ารื่นรมย์ (Unpleasant) อาทิ ร้อนมากไป หรือเป็นกลาง (Neutral) อาทิ รับรู้ว่าเรากำลังสัมผัสอะไรอยู่

ชราภาพ อาจลดหรือเปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่อาจสัมพันธ์กับการลดลงของเลือดที่ไหลไปยังปลายประสาท ไขสันหลัง (Spinal cord) หรือสมอง อันที่จริง ไขสันหลังส่งสัญญาณประสาท และสมองก็แปรผลของสัญญาณดังกล่าวด้วย สาเหตุการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ อาทิ การขาดสารอาหาร (Nutrient) บางอย่าง

นอกจากนี้ การผ่าตัดสมอง ปัญหาในสมอง ความสับสน (Confusion) ประสาทที่ถูกทำลาย (Nerve damage) จากการบาดเจ็บ (Injury) หรือ โรคเรื้อรัง (Chronic) อาทิ เบาหวาน (Diabetes) ก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกได้ ส่วนอาการ (Symptom) ของความรู้สึกที่เปลี่ยนไป ก็แตกต่างไปตามสาเหตุ

การลดลงของความอ่อนไหวต่ออุณหภูมิ [ในผู้สูงอายุ] ทำให้ [ผู้สูงอายุ] ยากที่จะบอกความแตกต่างระหว่างเย็นกับหนาว และระหว่างร้อนกับอุ่น ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงของการบาดเจ็บจากเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายเพราะความเย็นจัด (Frostbite) อุณหภูมิร่างกายที่ลดลงต่ำมากจนเป็นอันตราย (Hypothermia) และแผลพุพองจากไฟลวก (Burn)

วามสามารถที่ลดลงในการตรวจพบการสั่นสะเทือน สัมผัส และแรงกดดัน [ในผู้สูงอายุ] จะเพิ่มความเสี่ยงของการบาดเจ็บ ซึ่งรวมทั้งแผลพุพองจากแรงกดดัน (Pressure ulcer) หลังอายุ 50 ปี ผู้คนจำนวนมากมีความอ่อนไหวต่อความเจ็บปวดที่ลดลงหรือรู้สึกและรับรู้ความเจ็บปวด แต่ไม่รำคาญใจ

ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้สูงอายุบาดเจ็บ เขาอาจไม่รู้สึกว่าร้ายแรง (Severe) แค่ไหน เพราะความเจ็บปวดไม่ทำให้ยุ่งยากใจนัก หรืออาจมีปัญหาในการเดิน เนื่องจากความสามารถที่ลดลงในการตรวจพบตำแหน่งแห่งที่ของร่างกายที่สัมพันธ์กับพื้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของการหกล้ม อันเป็นปัญหาสามัญของผู้สูงอายุ

อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุอาจพัฒนาความอ่อนไหวสูงขึ้นต่อการสัมผัสด้วยแสง เพราะผิวหนังที่เบาบางลง ถ้ามีอาการของการเปลี่ยนแปลงในการสัมผัสความรู้สึก หรือปัญหาการยืนหรือเดิน ผู้สูงอายุพึงปรึกษาแพทย์ เพื่อหาหนทางรับมือกับอาการเหล่านี้

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Aging changes in the senses https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/004013.htm [2016, February 16].