จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 42 : ปัญหาการลิ้มรสและดมกลิ่น (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

การทำงานของการลิ้มรส (Taste) และการดมกลิ่น (Smell) นั้นดำเนินไปพร้อมกัน เนื่องจากรสชาติส่วนใหญ่มาจากกลิ่น ความรู้สึกของกลิ่นเริ่มต้นที่ปลายประสาท (Nerve ending) ซึ่งเชื่อมโยงถึงจมูก การลิ้มรสและดมกลิ่นยังมีบทบาทสำคัญในเรื่องความสนุกสนาน (Enjoyment) และความปลอดภัย (Safety)

มื้ออาหารที่อร่อย หรือกลิ่นที่หอมหวล (Aroma) สามารถเพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และความสนุกสนานของชีวิต รสชาติและกลิ่น ยังช่วยให้ผู้คนตรวจพบภยันตราย อาทิ อาหารที่บูด (Spoiled) แก๊ส และควัน ในทำนองเดียวกัน เชื้อโรค ควัน และอณูอันตราย (Harmful particle) ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ก็ช่วยเร่งการสูญเสียของการลิ้มรสและการดมกลิ่น ได้ด้วย

การลิ้มรสและการดมกลิ่นที่เสื่อมลง [ตามวัยที่สูงขึ้น] จะลดความสนใจและความสนุกสนานจากการกินอาหาร ความเสี่ยงจากภยันตรายเพิ่มขึ้น เพราะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถดมกลิ่น อาทิ แก๊สธรรมชาติ หรือควันจากไฟที่เพิ่งเริ่มติด ดั้งนั้น หากมีเริ่มมีปัญหาดังกล่าว ผู้สูงอายุควรรีบไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน

ตัวอย่างที่อาจช่วยแก้ไขได้ ก็คือ (1) มียาบางตัวที่อาจเปลี่ยนแปลงความสามารถในการลิ้มรสและดมกลิ่น (2) บางครั้งการเปลี่ยนแปลงวิธีปรุงอาหาร (อาทิ ใช้เครื่องเทศ [Spices]) อาจช่วยได้ และ (3) ควรคำนึงความปลอดภัย เมื่อมีการซื้อบางผลิตภัณฑ์ อาทิ เครื่องตรวจพบแก๊ส (Gas detector) ที่ส่งสัญญาณเตือน เมื่อเห็นหรือได้กลิ่น

ความรู้สึกของกลิ่นเสื่อมลง (Diminish) เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะหลังอายุ 70 ปี เหตุการณ์เช่นนี้อาจสัมพันธ์กับการสูญเสีย (Loss) ปลายประสาทในจมูก และเมือกจากเยื่อบุ (Mucus) ในจมูกที่ถูกผลิตในปริมาณน้อยลง เมือกดังกล่าว ช่วยทำให้กลิ่นดำรงอยู่ยาวนานขึ้น จนปลายประสาทสามารถตรวจพบ (Detect) และช่วยระบาย (Clear) กลิ่นออกจากปลายประสาทด้วย

จากผลของงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ความรู้สึกของกลิ่นดูเหมือนจะแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในผู้สูงอายุที่แข็งแรงมากๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประสบการเจ็บป่วยในรูปแบบ (Form) ใดรูปแบบหนึ่ง จึงอาจสรุปจากมิติของตัวแทนประชากรศาสตร์ (Demographically representative) ว่า ผู้สูงอายุแสดงอย่างน้อยบางส่วนของความเสื่อมลงในการดมกลิ่นด้วย

การศึกษาหลากหลาย ได้เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงในความสามารถของประสาทดมกลิ่น (Olfactory) กับการเปลี่ยนแปลงในนิสัยการกิน (Dietary habit) นอกจากนี้ การเสื่อมลงในความรู้สึกของกลิ่นนั้น ยังชื่อมโยงกับการเสื่อมลงในการรับรู้ (Cognitive) ในผู้สูงอายุโดยทั่วไป (Typical)

การวิจัยยังพบการสูญเสีย [ความสามารถในการดมกลิ่น] ในเชิงลึก (Profound) ในผู้คนที่มีโรคความจำเสื่อม (Dementia) อาทิ โรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) อย่างน้อยในผู้สูงอายุที่ไม่สูญเสียความจำ (Non-dementing) ความสัมพันธ์ระหว่างประสาทดมกลิ่นกับการรับรู้ ดูเหมือนจะเจือจางลงด้วยกรรมพันธุ์ (Genetically mediated) โดยที่คู่แฝดเหมือน (Identical twin) ก็ได้แสดงรูปแบบ (Pattern) ของการเปลี่ยนที่คล้ายคลึงกันมากในเรื่องนี้

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Aging changes in the senses https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/004013[2016, February 2].