จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 40 : ปัญหาการได้ยิน (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

มาตรการบางอย่างของทักษะการได้ยิน (Auditory skill) (อาทิ ความสามารถในการค้นพบช่องว่างความเงียบ [Silent gap] ระหว่างสัญญาณการได้ยิน) ได้รับผลกระทบจากอายุมากกว่าระดับการสูญเสียการได้ยิน ส่วนประกอบสำคัญในการรับรู้คำพูด (Speech perception) คือความละเอียดเชิงเวลา (Temporal resolution) ที่มีผลกระทบต่อการสื่อสาร

ระดับการสูญเสียการได้ยิน (Presbycusis) ไม่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในทักษะการได้ยิน (Auditory skills) ที่พบในวัยชรา และระดับดังกล่าว ก็มิใช่เป็นปัญหาเดียวที่พบในวัยชรา

สิ่งที่เลวร้ายลงตามสังขารณ์ ก็คือการแยกแยะความแตกต่างของเสียง (Pitch discrimination) ตำแหน่งแห่งที่ของเสียง (Sound localization) และ การรับรู้ข้อมูลเชิงเวลา (Timing information) ประมาณ 10% ของผู้สูงวัย ได้รับความทุกข์ทรมานจากเสียงดังในหู (Tinnitus) ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อสัญญาณการได้ยิน (Auditory signal)

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการได้ยินในวัยชราที่แสดงออก (Manifestation) ของผลกระทบจากความซับซ้อนของอายุ (Age x complexity effect) กล่าวคือ หากสัญญาณคำพูด (Speech signal) ยิ่งซับซ้อนมากขึ้น ผู้สูงอายุก็ยิ่งมีปัญหาในการได้ยินมากกว่าผู้ใหญ่วัยต้น (Young adult)

เราอาจเปรียบเทียบกรณีนี้กับสถานการณ์การค้นหาสัญญาณจากภูมิหลัง (Background) ที่มีเสียงดัง [อาทิ ขณะเล่นดนตรี] กับกรณีที่มีภูมิหลังที่เงียบ [ไม่มีการเล่นดนตรี] อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สัญญาณเป็นกลุ่มวลี (Phrases) ที่คุ้นเคย หรือการแสดงแนวความคิด (Concept) ที่คุ้นเคย ก็อาจจะไม่มีความแตกต่างระหว่างวัย ในเรื่องการยิน

การวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า ความเข้าใจเนื้อหาที่แสดงอารมณ์ (Emotional content) ของคำพูด ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับการสูญเสียการได้ยิน ในวิจัยเดียวกัน นักวิจัยอธิบายการเสื่อมลงของการรับรู้ (Cognitive decline) ว่า เป็นเรื่องความบกพร่อง(Deficit) ที่สัมพันธ์กับอายุ ในซีกขวา (Right hemisphere) ของสมอง

การสูญเสียการได้ยิน สร้างภาระทางอารมณ์ (Emotional burden) โดยที่สังคมส่วนใหญ่ มักขุ่นข้องหมองใจ (Grudge) กับคนหูหนวก (Deaf) มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ สำหรับชาวกรีกโบราณแล้ว คำว่า “หูหนวก” มีความหมายเดียวกับ (Synonymous) “โง่เขลา” (Stupid)

ในขณะที่ช่วงต้นของชาวคริสต์ ได้ให้นิยามของคำนี้ว่า เป็นการต้องสาป (Curse) เพราะในสังคมก่อนอ่านออก-เขียนได้ (Pre-literate) มีข้อห้ามคนกลุ่มนี้ไม่ให้ได้รับคำสอน

ในสังคมสมัยใหม่ ความลำเอียงในเรื่องนี้ยังคงดำเนินอยู่ คำว่า “งี่เง่า” (Dumb) ถูกใช้เพื่อแสดงถึงสติปัญญา (Intellect) ที่มีจำกัด องค์กรการกุศลของคนหูหนวก มักได้รับเงินบริจาคที่น้อยกว่าคนตาบอด (Blind) เพราะคนตาบอดถูกตัดขาดจากสิ่งของ แต่คนหูหนวกถูกตัดขาดจากผู้คน ข้อโต้แย้งนี้ อาจดูห้วนไป (Tenuous) ที่จะได้รับการสนับสนุนทั้งหมด แต่ก็ต้องยอมรับว่า มิได้ปราศจากเหตุผล (Validity)

แหล่งข้อมูล

1.Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2.Hearing Loss and Older adults - http://www.nidcd.nih.gov/health/hearing/pages/older.aspx [2016, January 19].