จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 39 : ปัญหาการได้ยิน (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ในการศึกษาหนึ่ง นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อได้รับการร้องขอให้จดจำรายการคำพูด (List of spoken words) ในขณะที่ทำงานซึ่งต้องใช้ความคิด (Mental task) ไปด้วย (Simultaneously) ปรากฏว่า การใช้ความคิดที่เพิ่มขึ้น (Extra) ทำให้ผู้สูงอายุ ไม่สามารถประมวล (Process) ข้อมูลการได้ยินอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) จนขาดความสามารถทางจิต (Mental capacity) ที่เพียงพอ (Sufficient) ต่อการจดจำคำพูด

ส่วนสาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน (Presbycusis) มีมากมาย (Legion) ผู้คนมักเข้าใจว่าการทำงานตลอดชีวิต ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสียงดังคือสาเหตุ [ที่แท้จริง] แม้ว่านี่เป็นปัจจัยสำคัญ แต่ก็มีปัจจัยอื่นๆ อาทิ กรรมพันธุ์ อาหาร (Diet) อนุมูลอิสระ (Free radical) หลอดเลือดหัวใจ (Cardio-vascular) และสุขภาพโดยทั่วไป

เพศ (Gender) ก็มีผลกระทบเช่นกัน การสูญเสียการได้ยินของผู้ชายเสื่อมลงในอัตราที่รวดเร็วกว่าผู้หญิง แต่อ่อนไหว (Sensitivity) ได้ดีกว่าต่อคลื่นความถี่ต่ำ (Low frequency) แม้จะมีความแตกต่างอย่างมากในรูปแบบ (Pattern) ของการสูญเสียในแต่ละบุคคล อันเนื่องมาจากผู้ชายมีแนวโน้มมากกว่าผู้หญิงที่จะทำงานในสถานที่เสียงดังกว่า (Nosier) แต่ก็มีประจักษ์หลักฐานว่า ในบรรดาผู้คนที่ยึดอาชีพที่ทำงานอย่างเงียบๆ ก็ยังแตกต่างในเรื่องการได้ยินของหญิงกับชาย

หากเรามองจากหูชั้นนอกเข้าไปยังหูชั้นใน เราจะสังเกตได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับอายุ เริ่มต้นที่การวิจัยชิ้นหนึ่งของผู้เชี่ยวชาญชราภาพ (Gerontology) พบสิ่งที่เข้าใจยาก (Esoteric) ว่า ติ่งหู (Ear lobe) ที่เสื่อมลงตามอายุ จะเพิ่มขนาดขึ้นหลายมิลลิเมตร [หูยาน]แต่ไม่มีใครทราบอย่างแน่ชัดถึงความสำคัญอันนี้ต่อการทำงาน (Functioning) ของหู ส่วนร่องหู (Ear canal) ของผู้สูงอายุอาจมีขี้ผึ้ง (Wax) ที่ขัดขวางการได้ยิน แม้ว่าประเด็นนี้จะแก้ไขได้ไม่ยากนัก

การเปลี่ยนแปลงในหู้ชั้นกลาง (Middle) มักรุนแรง (Severe) กว่า และแก้ไขได้ยากกว่า เพราะกระดูกของหูชั้นกลาง อันได้แก่ ค้อน [Hammer] ทั่ง [Anvil] และโกลน [Stirrup] หรือ Malleus, incus และ stapes ตามลำดับ กระดูกทั้ง 3 มีแนวโน้มที่จะกระด้างขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น เพราะการสะสมของแคลเซี่ยม (Calcification) หรือไขข้ออักเสบ (Arthritis)

สิ่งนี้มีผลกระทบต่อการส่งผ่าน (Transmission) ของเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลื่นความถี่สูง ปัญหาอาจทวีความรุนแรง จากการเปลี่ยนแปลงของหูชั้นใน (Inner) ที่ซึ่งการสูญเสียของเซลล์มักกระจุกตัว (Concentrated) อยู่กับสัญญาณรับ (Receptor) ของเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง

เส้นประสาทการได้ยิน (Auditory nerve) เชื่อมหูชั้นในไปยังสมอง โดยกลุ่ม (Bundle) ของเส้นใย (Fiber) ประสาทจะลด (Diminish) ขนาดลง เมื่อมีอายุมากขึ้น การแคระแกร็น (Atrophy) นี้ อาจเกิดจากการสูญเสียเลือดที่จ่ายออกไป (Blood supply) และการเจริญเติบโตของกระดูกที่จำกัด (Restrict) ช่องทาง (Channel) ของเส้นใยประสาท

เนื่องจากการสูญเสียการได้ยิน มีสาเหตุที่แยกแยะได้มากมาย ความพยายามในการรักษาจึงมีหลากหลายเช่นกัน แม้จะมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะรักษาให้หายขาด แต่ก็มีความคืบหน้าอยู่เนืองๆ

แหล่งข้อมูล

1.Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2.Hearing Loss and Older adults - http://www.nidcd.nih.gov/health/hearing/pages/older.aspx [2016, January 12].