จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 38 : ปัญหาการได้ยิน (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

การสูญเสียการได้ยิน คือการถดถอย (Decrease) อย่างกะทันหันหรือค่อยเป็นค่อยไปในสิ่งที่สามารถได้ยิน ซึ่งเป็นปัญหา “แบบเหมารวม” (Stereotype) ของผู้สูงอายุ และเป็นหัวข้อขบขันที่เสียดสีผู้สูงวัย (Ageist humor) ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้คนที่มีอายุระหว่าง 65 ถึง 74 ปี มักสูญเสียการได้ยิน และเกือบครึ่งของผู้มีอายุเกิน 75 ปี ขึ้นไปจะมีปัญหาการได้ยิน

ความลำบากในการได้ยิน (อาทิ เสียงกระซิบ [faint sound] ที่ผู้คนอายุไม่มากสามารถได้ยินอย่างชัดแจ๋ว) มีผลกระทบผู้คนจำนวนมากเมื่อถึงอายุ 50 ปี และปัญหาเริ่มเห็นเด่นชัด (Pronounced) หลังจากนั้น โดยทำให้ผู้สูงอายุยากที่จะเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ในเรื่องการสนองตอบต่อคำเตือน (Warning) อันตราย อาทิ ผ่านกระดิ่ง (Doorbell) และสัญญาณฉุกเฉิน (Alarm)

การกำหนดตัวเลขตายตัวของขอบเขตของการสูญเสียการได้ยิน มักแตกต่างกันไปตามวิถีการนิยามคำว่า “สูญเสีย” ในกลุ่มประชากร หากเราพิจารณาถึงการสูญเสียอย่างรุนแรง (Severe) ของบุคคลที่หูหนวก (Deaf) หรือต้องอาศัยเครื่องช่วยการได้ยิน (Hearing aid) แม้เป็นการได้ยินขั้นพื้นฐาน ก็มีเพียงผู้คนไม่ถึง 2% ซึ่งมีอายุระหว่าง 20+ ถึง 30+ ปี ที่จะจัดอยู่ในประเภทนี้

ตัวเลขดังกล่าวสามารถเปรียบเทียบกับ 1 ใน 3 ของผู้ที่มีอายุ 70+ ถึง 80+ ปี และครึ่งหนึ่งของผู้คนที่มีอายุระหว่าง 80+ ถึง 90+ ปี แต่ถ้าเราพิจารณาถึงการสูญเสียการได้ยินที่สัมพันธ์กับอายุ (Age-related hearing loss : ARHL) หรือที่รู้จักกันว่า Presbycusis ก็จะประมาณการได้ว่า 50% ของผู้คนที่มีอายุ 65+ ปี มีปัญหา ARHL

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยอื่นๆ ซึ่งไม่ใช้เกณฑ์ที่เข้มงวดนัก (Permissive criteria) โต้แย้งว่า ตัวเลขดังกล่าวน่าจะอยู่ระหว่าง 70 ถึง 80% อันที่จริง ขนาดของสัดส่วน (Proportion size) [อายุ] ขึ้นอยู่กับจุดแบ่ง (Threshold value) ของการสูญเสียการได้ยิน ที่นักวิจัยแต่ละคนลงความเห็นว่าเป็นปัญหา

ไม่ว่าขนาดของสัดส่วนจะเป็นเท่าไร ก็ไม่เป็นที่สงสัยกันเลยว่า ARHL คือความผิดปรกติ (Disorder) ของประสาทสัมผัส (Sensory) เพียงปัจจัยเดียวที่พบบ่อยมากที่สุดในผู้สูงอายุ แต่ข้อสำคัญคือการตอกย้ำว่า การสูญเสียการได้ยิน ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของความไม่สามารถได้ยินเสียงค่อยๆ หรือเบาๆ

อันที่จริง ARHL (Age-related hearing loss) มีหลายรูปแบบ แต่มีลักษณะเฉพาะของการสูญเสียตามสัดส่วนของเสียงที่มีความถี่สูง การพูดเช่นนี้ อาจทำให้เข้าใจว่าผู้คนทั้งโลกได้ยินเสียงไม่ค่อยชัด มากกว่าผลจากการหรี่เสียงแหลม (Treble) ลง ในระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุที่มีเสียงคมชัดเป็นพิเศษ (Hi-fi system)

อย่างไรก็ตาม ปัญหาในโลกแห่งความจริงเลวร้ายกว่านี้มาก ความแตกต่างที่สำคัญในเสียงพูด (Speech sound) ดูเหมือนจะอยู่ในความถี่สูง ดังนั้นความสามารถที่จะบอกสิ่งที่ผู้คนพูด จึงได้ลดลงอย่างฮวบฮาบ (Markedly impaired) นอกจากนี้ ทักษะการได้ยิน (Auditory) อื่นๆ (อาทิ ความสามารถในการค้นหาที่มาของเสียง) ก็ได้ลดลงอย่างมาก ปัญหาเหล่านี้อาจมีผลกระทบที่ไม่เป็นสัดส่วน (Disproportionate) กับความสามารถในการได้รับข้อมูล

แหล่งข้อมูล

1.Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2.Hearing Loss and Older adults - http://www.nidcd.nih.gov/health/hearing/pages/older.aspx [2016, January 5].