จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 35 : ประสาทสัมผัสชราภาพ

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ผลกระทบของกระบวนการชราภาพทางร่างกาย เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้คนประเมินใหม่ (Re-evaluate) ซึ่งสถานะของตนเอง นี่ไม่ใช่สิ่งที่ร้ายแรงเสมอไป การรับรู้ว่า กระดูกเริ่มเปราะบาง (Brittle) และกล้ามเนื้ออ่อนแอลง อาจสร้างความรู้สึกที่ไม่เต็มใจนัก แต่ในทางปฏิบัติก็ทำให้คนเริ่มระมัดระวัง (Caution)

อย่างไรก็ตาม ในผู้สูงอายุบางคน สัญญาณทางร่างกายเหล่านี้นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า (Depression) โดยที่ส่วนใหญ่ (Majority) ยังคงมีขีดความสามารถมากมายในการรับมือกับความต้องการในชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกับหลายๆ มิติของการเสื่อมลงที่เกี่ยวข้องกับอายุ การเปลี่ยนแปลงมักเริ่มต้นในผู้ใหญ่วัยต้น (Early adulthood)

เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น วิธีการที่ประสาทสัมผัส (Sense) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโลก ก็จะเปลี่ยนไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเห็น การได้ยิน การลองลิ้ม หรือการสัมผัส ประสาทสัมผัส คือวิธีของสมองในการสัมผัส (Contact) กับสภาพแวดล้อม ดังนั้น การเสื่อมลงในตัวมัน มีผลกระทบ (Impinge) ต่อการทำงาน (Working) ของจิตใจ (Mind)

การเสื่อมลงที่เกี่ยวข้องกับอายุ ทำให้สมองปราศจากประสบการณ์เต็ม (Full experience) ของโลกภายนอก แต่ก็อาจไม่เป็นจริงเสมอไป ในข้อสมมุติฐานที่ว่า การสูญเสียดังกล่าวเริ่มต้นในช่วงปลายของชีวิต อันที่จริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทสัมผัสจะกระทบต่อวิถีชีวิต (Lifestyle) การสื่อสาร กิจกรรม และปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่ก่อนที่จะรับรู้เรื่องประสาทสัมผัส จะต้องมีการกระตุ้น (Stimulation) ในระดับสุง เรียกว่า “จุดเริ่มต้น” (Threshold) ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามอายุ

การ [ไม่] มองเห็น (Vision) เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุมักบ่นบ่อยๆ ซึ่งเป็นความจริง นอกเหนือจากปัญหาที่ค่อนข้างง่ายของสายตาสั้น (Short-sightedness) และสายตายาว (Long-sightedness) เพราะประมาณ 1 ใน 3 ของผู้คนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีโรคที่กระทบต่อการมองเห็น

ปัญหาธรรมดาคือการเสื่อมลงในการอำนวยความสะดวก (Accommodation) หรือความสามารถในการเพ่งเล็ง (Focus) ณ ระยะทางที่แตกต่างกัน อันนำไปสู่สายตาคนแก่ (Presbyopia; presby = แก่) นั่นก็คือสายตายาว อาจเนื่องจากเลนส์ (Lens) ตากำลังสูญเสียความยืดหยุ่น (Elasticity) บางส่วน และบั่นทอนกำลังเพ่งเล็ง

การด้อยความสามารถในการมองเห็น (Visual disability) ที่ร้ายแรงที่สุดของผู้คนส่วนมาก คือการสูญเสียความคมชัด (Acuity) ซึ่งได้รับการนิยามว่า “ความสามารถในการเห็นวัตถุอย่างชัดเจนจากระยะไกล หรือความสามารถในการเพ่งเล็งรายละเอียด” ประมาณ 75% ของผู้สูงอายุจำเป็นต้องสวมแว่นตา และผู้สูงอายุจำนวนมากจะมองไม่เห็นได้เต็มตา (Full vision) เมื่อจะมีแว่นตาช่วย

ในการสำรวจประชากรหลายครั้งพบว่า ในปี พ.ศ. 2548 พบว่า ประชากรในราว 1.04 พันล้านคนมีสายตายาว ในจำนวนนี้ 517 ล้านคนไม่มีแว่นตา หรือมีแว่นตาที่ไม่เหมาะสมกับจุดประสงค์ และประมาณ 80% ไม่สามารถจะทำงานที่ต้องใช้สายตาระยะสั้น ซึ่งเป็นอุปสรรค (Block) มิให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมประจำวันที่จำเป็น ประมาณ 94% ของผู้ที่จำเป็นต้องได้แว่นตา อาศัยอยู่ในโลกที่กำลังพัฒนา

แหล่งข้อมูล

1.Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2.Aging sensory system - http://www.webmd.com/eye-health/vision-problems-aging-adults [2015, December 15].