จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 34 : ร่างกายชราภาพ

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ภาพโดยทั่วไปของการเปลี่ยนแปลงต่อร่างกายที่ร่วงโรย ไม่ใช่เป็นภาพที่สวยงามนัก ตัวอย่างเช่น ณ ระดับของเนื้อเยื่อ จะพบว่าผิวหนังและกล้ามเนื้อจะเริ่มหย่อนยาน ณ ระดับเซลล์ จะมีการสูญเสียประสิทธิภาพของแหล่งพลังงานของเซลล์ (Mitocondria) และ ณ ระดับโมเลกุล ก็จะพบเห็นทฤษฎีกลายพันธุ์ทางร่างกาย (Somatic mutation)

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบที่เป็นอันตราย (Deleterious) ต่อการทำงานของระบบร่างกาย ตัวอย่างเช่น ระบบปัสสาวะ (Urinary) ทำงานช้าลง ในการขับออก (Excrete) ซึ่งสารพิษ (toxins) และสิ่งปฏิกูล (Waste) ส่วนระบบทางเดินอาหาร (Gastro-intestinal) ก็จะมีประสิทธิภาพลดลงในการดูดซึม (Extract) สารโภชนาการ (Nutrient) นอกจากนี้ ยังมีการลดลงในมวลสารของกล้ามเนื้อ (Muscle mass) และความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อที่เหลืออยู่ ในขณะที่ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory) ก็จะรับออกซิเจนได้น้อยลง

ส่วนระบบหลอดเลือดหัวใจ (Cardio-vascular) ก็จะได้รับผลกระทบจากความแข็งแรงของหัวใจลดลง ในขณะที่หลอดเลือด (Artery) แข็งขึ้น (Harden) แต่หดตัวลง (Shrink) ทำให้การสูบฉีด (Pump) โลหิตทั่วร่างกายมีการใช้พลังงานมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาตรเลือดส่งออก (Output) จากหัวใจของผู้คนอายุเฉลี่ย 75 ปี เหลือประมาณ 70% ของผู้คนอายุเฉลี่ย 30 ปี

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มีผลกระทบที่เป็นโทษ (Disadvantage) ต่อการทำงานของสมองและของจิตใจ (Psychological performance) นอกจากการเสื่อมลงตามปรกติของชราภาพ (Senescence) แล้ว ความเจ็บป่วยจากหลอดเลือดหัวใจ ยังมีผลกระทบอันตราย (Detrimental) ต่อการทำงานของสมอง และการเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพทางกาย กับ ดัชนีชี้วัดของการทำงานของการรับรู้

ในกรณีสุดขั้ว (Extremis) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ โรคหลอดเลือด (Stroke) ซึ่งการลำเลียง (Supply) เลือดไปยังส่วนหนึ่งของสมองถูกขัดขวาง จนเป็นสาเหตุการตายของเนื้อเยื่อที่ได้รับผลกระทบ ณ ระดับที่ความรุนรง (Severe) ไม่มาก ผู้สูงอายุบางคน อาจถูกจำกัด (Constricted) ออกซิเจน จนผล็อยหลับไปหลังมื้ออาหาร เนื่องจากพลังงานที่กระบวนการย่อยอาหาร (Digestive processes) ต้องการ ทำให้สมองปราศจาก (Deprive) ออกซิเจนจจนหมดสติไป

การเปลี่ยนแปลงในระบบอื่นๆ อาจมีผลกระทบที่ละเอียดอ่อน (Subtle) ตัวอย่างเช่น การลดลงในระบบปัสสาวะ อาจหมายถึงระดับสูงของสารพิษ ที่สะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการทำงานของประสาท (Neural) ถ้าผู้สูงอายุได้รับยาบำบัด (Drug therapy) การไม่สามารถขับยาออกจากระบบ ที่เร็วเพียงพอ อาจนำไปสู่ปัญหาให้ยาเกินขนาด (Overdose) รวมทั้งการมึนเมา (Delirium)

การลดลงขอระบบทางเดินอาหาร ก็ให้ผลตามมา (Consequence) ที่กว้างไกล (Far-reaching) ถ้าการลดลงมีผลกระทบในการลดความสนใจของผู้สูงอายุในอาหาร ก็จะส่งผลให้เกิดทุพโภชนา (Malnutrition) และนี่ก็เป็นสิ่งที่ร้ายแรงมากจากมุมมองทางจิตวิทยา ถ้าบุคคลนั้นวิวัฒนาความบกพร่อง (Deficiency) ในวิตามิน B12 เพราะจะกระตุ้น (Trigger) กลุ่มอาการคล้ายความจำเสื่อม (Dementia-like)

แหล่งข้อมูล

1.Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2.Aging changes in body shape - http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003998.htm [2015, December 8].