จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 32: สาเหตุชราภาพทางชีววิทยา (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

เนื่องจากสัตว์ส่วนใหญ่ตายตั้งแต่อายุไม่มาก ผลกระทบต่อ จีน/ยีน (Gene) ในช่วงท้ายของชีวิต จึงไม่เป็นที่สังเกตเห็น และมีผลกระทบน้อยมากต่อความสำเร็จในการขยายพันธุ์ (Breeding success) หรือเป็นที่สังเกตเห็น ก็ต่อเมื่อเลยวัยขยายพันธุ์แล้ว

ส่วนบทพิสูจน์ของทฤษฎีผลกระทบปฏิปักษ์ (Antagonistic pleiotropic theory) นั้น มีการทดลองมากมายในแมลงผลไม้ (Fruit fly) พบว่า หากประโยชน์ในช่วงต้นของชีวิต สามารถหักล้างกับโทษในช่วงท้ายของชีวิต การเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม (Manipulate) โดยควบคุม จีน/ยีน ในช่วงต้นของชีวิต ก็ควรจะมีผลกระทบต่อช่วงท้ายของชีวิต ในการวิจัยหนึ่ง พบว่า การหักล้างดังกล่าว สามารถเพิ่มชีวิตคาด (Life expectancy) ได้

เราสามารถขยายการโต้แย้งออกไปหลากหลาย (Permutation) โดยเฉพาะทฤษฎีชราภาพที่กำจัดร่างกายทิ้ง (Disposable soma theory of ageing) ซึ่งระบุว่า ทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ ได้โต้แย้งว่า สิ่งมีชีวิต (Organism) ถูกผลักดันให้สืบพันธุ์ (Reproduce) ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

การสืบพันธุ์เป็นลำดับความสำคัญ (Precedence) เหนือความอยู่รอดของแต่ละคน จีน/ยีน ของสิ่งมีชีวิตจะต้องอยู่รอด ส่วนร่างกายที่ จีน/ยีน อาศัยอยู่มีความสำคัญลำดับรอง (Secondary)

ดังนั้นตามทฤษฎีนี้แล้วจะเป็นการดีกว่า หากผู้ชายจะตายเมื่ออายุ 20 แต่เป็นพ่อพันธุ์ให้ (Sired) ลูก สัก 30 คน ยังดีกว่าตายเมื่ออายุ 100 ปี โดยไม่มีลูกเลย ทฤษฎีชราภาพที่กำจัดร่างกายทิ้งนี้ ยึดถือข้อโต้แย้งดังกล่าว และปรับ (Adapt) ตามแนวความคิดดังต่อไปนี้

เซลล์ของร่างกายที่ตาย จะต้องถูกทดแทนอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าไม่ได้รับการทดแทน ส่วนของร่างกายที่เกี่ยวข้องจะเสื่อมลงทั้งปริมาณและประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่จะทดแทนเซลล์ทั้งหมดด้วยประสิทธิผลที่เท่าเทียมกัน

ดังนั้น ทฤษฎีชราภาพที่กำจัดร่างกายทิ้ง จึงโต้แย้งว่า กลยุทธวิวัฒนาการ (Evolutionary strategy) ที่ดีที่สุด คือการรักษาอวัยวะสืบพันธุ์ (Reproductive organ) ให้อยู่ในสภาพดีที่สุด แม้จะต้องแลกกับส่วนของร่างกายที่ไม่ใช้สืบพันธุ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ พลังงานที่ลงทุนในการสืบพันธุ์ มากเท่าใด ยิ่งทำให้สภาพร่างกายเสื่อมลง เท่านั้น

บรรดาทฤษฎีชราภาพที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการ และสิ่งที่เห็นเด่นชัด (Distinct) ก็คือการมุ่งเน้นข้อสมมุติฐานที่ปันร่วมกัน (Shared) ว่า ชราภาพคงจะไม่พบเห็นบ่อยก่อนการมาถึง (Advent) ของโลกที่พัฒนาแล้วซึ่งเป็นญาติ (Kinship) กับชราภาพ สรุปแล้วทุกทฤษฏีถูกต้องหมดแม้มีฉากหลัง (Scenario) ที่แตกต่างกัน

ถ้าเรายอมรับทฤษฎีใดก็ตาม ก็เท่ากับยอมรับว่า ช่วงท้ายของชีวิต มิได้อยู่ในแผนของการคัดเลือกตามธรรมชาติเหมือนช่วงต้นของชีวิต (Lifespan) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือเมื่อเราพิจารณาผู้สูงวัยคนหนึ่ง คงยากที่จะโต้แย้งว่า การเปลี่ยนแปลงเฉพาะในพฤติกรรม หรือการทำงาน (Functioning) ของร่างกายของเขา ได้รับการออกแบบให้เกิดขึ้น [อย่างจงใจ]

แหล่งข้อมูล

1.Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2.Biological ageing is no longer an unsolved problem - http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17460161 [2015, November 24].