จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 29: ต้นทุนของอายุยืน (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

อีกวิธีหนึ่ง คือการลดเงินบำนาญใหม่ให้น้อยลงกว่าเงินบำนาญเก่า แม้จะเป็นทางออกที่ดี แต่จะมีผลกระทบเต็มที่ในหลายทศวรรษต่อมา เมื่อคนทำงานปัจจุบันถึงอายุเกษียณ วิธีสุดท้ายก็คือการเพิ่มจำนวนเงินสมทบ (Contribution) เข้าในกองทุน แต่ก็เป็นการขอให้คนทำงานจ่ายเงินเพิ่ม ในช่วงเวลาที่ค่าจ้างถูกควบคุม และราคาสินค้าก็เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ระเบิดเวลาประชากร (Demographic time bomb) และวิกฤตบำนาญ (Pension crisis) กำลังเป็นปัญหาร้ายแรง แต่ต้องเข้าใจในภาพรวม (Perspective) ด้วย เริ่มต้นที่ต้นทุนของการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ อาจแสดงตัวเลขทางบัญชีที่เกินความจริง (Exaggerated) และต้นทุนที่แท้จริง อาจต่ำกว่าที่เข้าใจกันอย่างมีนัยสำคัญ

ประการที่ 2 สถิติที่เราพบเห็น มักอ้างอิงจากประเทศอุตสาหกรรม ภาพที่สะท้อนความจริง น่าจะเป็นตัวเลขจากประเทศที่กำลังพัฒนาในปี พ.ศ. 2443 ซึ่งมีอัตราการตายของทารก (Infant mortality) ที่เหมาะสมกว่าอัตราการตายที่ต่ำเกินไปของประเทศที่พัฒนาแล้ว ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)

นอกจากนี้ อัตราผู้สูงอายุที่พึ่งพาผู้อื่น (Old age dependency rate) คาดว่าจะแตกต่างอย่างมาก (Enormously) ในแต่ละประเทศ โดยที่ในปี พ.ศ. 2593 อัตราส่วนนี้ คาดว่าจะเป็น 1 ในประเทศญี่ปุ่น และ 3 ในสหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบกับ 19 ในประเทศไนเจอร์ (Niger) ซึ่งอยู่ขั้วต่ำสุด ตามข้อมูลประชากรศาสตร์ของสหประชาชาติ (United Nations)

อย่างไรก็ตาม คงต้องตอกย้ำ (Reiterating) คำเตือนในเรื่องอายุยืน (Longevity) ว่า มีผลกระทบในเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้น ตามมาด้วยข้อสมมุติฐานที่ผิดว่า บำนาญเป็นสิ่งที่ถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน (Inalienable) อันที่จริง บำนาญเป็นประดิษฐกรรมที่เกิดขึ้นไม่นานในประวัติศาสตร์

บำนาญของรัฐกำเนิดขึ้น เพื่อจัดแจงปัจจัยขั้นพื้นฐาน (Basic sustenance) ให้คนทำงานในช่วงสุดท้ายของปีทำงาน โดยมิได้ตั้งใจให้เป็นกองทุนสำราญ (Leisure) สำหรับสัดส่วนสำคัญของประชากรเป็นเวลา 2 ทศวรรษขึ้นไป เมื่ออายุคาด (Life expectancy) ยืนยาวขึ้น การเพิ่มขึ้นของประชากรบำนาญ (Pensionable age) เป็นสิ่งที่ชอบด้วยเหตุผล

ประการที่ 2 ในสถานการณ์ใดๆ ลักษณะที่ไร้กฎเกณฑ์ (Arbitrary nature) ของส่วนประกอบของผู้รับบำนาญ (Pensionable age) จะเห็นตัวอย่างได้จากปรับอายุเกษียณในฝรั่งเศสให้เพิ่มขึ้นเป็น 62 ปี หรือ 3 ปีต่ำกว่าอายุเกษียณปัจจุบันของอังกฤษ

ความโกรธ (Wrath) ของฝรั่งเศส ถูกกำกับไว้ในสิ่งที่เขามองเห็นว่าถูกต้อง แต่ในอังกฤษ จะถูกมองว่าเป็นการเกษียณอายุก่อนวัย (Early retirement) ดังนั้นสิ่งที่ประกอบเป็น “อายุที่ถูกต้อง” ซึ่งสมควรเกษียณ เหมือนแนวความคิดเรื่องผู้สูงวัย เป็นสิ่งที่ไร้กฎเกณฑ์

แหล่งข้อมูล

1.Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2.The Rising Cost of Living Longer - http://kff.org/medicare/report/the-rising-cost-of-living-longer-analysis-of-medicare-spending-by-age-for-beneficiaries-in-traditional-medicare/ [2015, November 3].