จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 23: ปัจจัยกระทบอายุคาด (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

เกือบทุกการศึกษาวิจัย พบความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างการออกกำลังกาย กับสุขภาพแม้จะมีข้อถกเถียงกันบ้างในเรื่องระดับใดของการออกกำลังกาย จึงจะเหมาะสมที่สุด แต่ก็ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า การออกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แม้การออกกำลังกายจะมีคุณสมบัติ (Property) ของการยืดอายุ แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่ไม่อาจมองข้าม

ผลวิจัยแสดงว่า ผู้บริโภคอาหารทุกอย่าง (Omnivorous) แต่มีสัดส่วนของเนื้อสัตว์ใน “ปริมาณต่ำ จะมีแนวโน้มต่ำที่จะเป็นโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ถ้าเราละเว้น (Dispense) อาหารพิเศษ [ที่กำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญ]” แล้วพิจารณาเฉาะสิ่งที่ผู้คน “บริโภคจริง จะพบหลักฐานที่น่ากังวลใจว่า มีเพียงส่วนน้อยของผู้สูงอายุที่บริโภคอาหารอย่างสมดุล (Balanced meals)”

ผู้อยู่ในสภาวะร้ายแรง (Fatal condition) มักได้รับการจัดแจงล่วงหน้า (Predisposed) มิให้ออกกำลังกาย แม้การตรวจสอบทางการแพทย์ จะไม่พบสัญญาณ (Sign) ที่อาจจู่โจมของโรคภัยไข้เจ็บ ในทำนองเดียวกัน ผู้มีเวลาว่าง (Leisure) มากพอที่จะออกกำลังกาย มักเป็นผู้มีฐานะทางการเงินที่ดีแล้ว [แต่ไม่ประสงค์จะออกกำลังกาย]

ข้อโต้แย้ง (Counter-argument) เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายอาจมิได้มีคุณประโยชน์ (Benefit) ในสายตาของบางคน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่คิดจะออกกำลังกายอย่างจริงจัง (Serious) หลังจากเว้นช่วงยาวนาน เพราะความเกียจคร้าน (Sloth) ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มต้น

ในเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ (ไม่ว่ามากหรือน้อย) สามารถลดอายุคาด (Life expectancy) ลงถึง 10 ปี (Decade) อันที่จริง การดื่มแอลกอฮอล์จัด (Excessive consumption) มีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้น และสภาวะที่เป็นภัยคุกคามต่อชีวิต (Life-threatening) นอกจากนี้ ยังมีรายงานการวิจัยมากมายที่พบ ความสัมพันธ์ในเชิงบวกระหว่างการสูบบุหรี่กับโรคร้ายแรง อาทิ มะเร็งในปอด และโรคหัวใจ

ส่วนประจักษ์หลักฐานในเรื่องการบริโภคอาหารยังคลุมเครือ (Equivocal) แม้ว่าเป็นที่รับรู้กันว่า โรคอ้วนเกิน (Obesity) สามารถลดอายุคาดได้ แต่สิ่งที่ควรบริโภคกับปริมาณที่บริโภค ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ผลวิจัยที่เชื่อถือได้ล้วนมาจากการทดลองในสัตว์ แต่การศึกษาในมนุษย์ ยังต้องการความละเอียดรอบคอบ (Circumspect) กว่านี้

อันที่จริง เป็นที่รับรู้กันตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 (พ.ศ. 2373 – พ.ศ. 2382) แล้วว่า การจำกัดอาหาร (Restricted diet) จะได้ประสิทธิผลหลังจากช่วงอายุหนึ่งเท่านั้น กล่าวคือ หากเริ่มต้นเร็วเกินไป ก็จะเร่ง (Accelerate) ชราภาพ แทนที่จะชะลอ (Retard) มัน

นอกจากนี้ การจำกัดอาหาร ยังมีผลกระทบที่แตกต่างกันระหว่างจำพวกของเผ่าพันธุ์ (Species) และอนุเผ่าพันธุ์ (Sub-species) ดังนั้นคุณประโยชน์จากการจำกัดอาหาร จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับกันถ้วนหน้า (Universally beneficial)

อย่างไรก็ตาม ประเภทของอาหารก็ให้ผลในการ “ยืดอายุชีวิต” (Life prolonging) ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น มีการวิจัยว่าการเพิ่มการบริโภคผลแห้งเปลือกแข็ง (Nut) สามารถป้องกัน (Prophylactic) โรคหัวใจที่เกิดจากการอุดตันของทางเดินโลหิต (Ischemia) ได้

ส่วนผู้เคร่งครัดในมังสาวิรัติ (Vegetarian) มีชีวิตที่อยู่ยาวนานกว่าผู้ที่บริโภคทุกอย่าง (Omnivorous) [ทั้งพืชและสัตว์] อาจเป็นเพราะกลุ่มมังสาวิรัติมีแนวโน้ม (Prone) ต่ำต่อการก่อให้เกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็งบางประเภท แต่มิใช่เพราะการที่กลุ่มมังสาวิรัติไม่บริโภคเนื้อสัตว์เลย (Complete absence)

แหล่งข้อมูล

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Life expectancy - http://en.wikipedia.org/wiki/Life_expectancy [2015, September 22].