จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 214 : ทฤษฎีถดถอยจากสังคม (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-214

      

      นักวิจัยพบว่า ระดับของการเกี่ยวข้อง (Engagement) กับกิจกรรมในสังคม ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งมิได้รวมเพียงอายุแต่ยังรวมถึงเผ่าพันธ์ (Ethnicity) และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม (Socio-economic status) ด้วย วัฒนธรรมก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย การถดถอยจากสังคมเป็นปรากฏการณ์ (Phenomenon) ไม่พบบ่อยนักในประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ซึ่งผู้สูงวัยยังคงมีบทบาทกระฉับกระเฉง (Active) ในสังคม

      ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจเป็นส่วนขยายตามธรรมชาติ (Natural extension) ของประเภทเฉพาะ (Particular) ของบุคลิกภาพ และ/หรือ ผลลัพธ์ของสถานการณ์โดยทั่วไปและเหตุการณ์เฉพาะ (Specific) มิใช่ลักษณะครอบจักรวาล (Universal) หรือเป็นผลิตภัณฑ์ของชราภาพ (Product of aging)

      นักวิจัยอื่นสรุปว่า นโยบายที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูงวัย ก็คือให้มีบทบาทสำคัญที่ยังคงกระฉับกระเฉงตราบเท่าที่เป็นไปได้ ข้อโต้แย้งมีดังนี้ ผู้สูงวัยมักต้องการชีวิตที่กระฉับกระเฉง และพบความพึงพอใจต่อชีวิตสูงสุดหากยังเกี่ยวข้องกับกิจกรรม นอกจากนี้การมีส่วนร่วมในสังคม หรืออย่างน้อยสนับสนุนเครือข่ายสังคม (Social network) ดูเหมือนจะช่วยบรรเทา (Lessen) ผลกระทบ (Impact) ของการแลกเปลี่ยนในเชิงลบ (Negative exchange) ในสังคม

      การมีส่วนร่วมในสังคม ยังมีสหสัมพันธ์กับระดับต่ำของการเสื่อมถอยในการรับรู้ (Cognitive decline) ซึ่งสะท้อน (Echo) อยู่ในผลการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) ในยุโรปของนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่ง ในเรื่องการมีส่วนร่วมในงานชุมชน (Community work) ของอาสาสมัคร (Voluntary) ผู้สูงวัยที่ทำคะแนนสูงในการทดสอบเรื่องสุขภาพจิต (Mental health)

      การตอกย้ำ (Stress) กิจกรรมในบริบทนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้ “พลังทางร่างกาย” (Physical demanding) มากนัก ซึ่งคำนี้ หมายถึงประเภทของพฤติกรรมที่มีส่วนประกอบของสังคม (Social component) นักวิจัยบางคน พบว่า ตัวกิจกรรมเองส่งผลให้สิ่งที่ตามมา (Consequence) น้อยมาก สิ่งสำคัญคือปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social interaction) ที่มาพร้อมกับกิจกรรม

      ในสหรัฐอเมริกา สิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยเหลือการดำรงชีวิตของผู้สูงวัย (Assisted-living facilities) การกระทำอย่างง่ายๆ (Simple act) ของการรวมตัวกันกับผู้อื่นในเวลาอาหารกลางวัน และการมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับบุคลากรดูแลผู้สูงวัยและผู้อยู่ในชายคาเดียวกัน (Residence) ก่อให้เกิด (Constitute) กิจกรรมที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being)

      นักวิจัยพบว่า หลังจากพิจารณาถึงคุณภาพของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกิจกรรมแล้ว ความยาวนาน (Length) ของกิจกรรมที่ดำเนินอยู่ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดี ดังนั้นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เป็นประโยชน์ (Beneficial) จึงไม่น่าประหลาดใจที่มีจุดยืนทฤษฎี (Theoretical stance) ว่าผู้สูงวัยควรได้รับการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม อันเป็นที่มาของ “ทฤษฎีกิจกรรม” (Activity theory)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Disengagement theory - https://en.wikipedia.org/wiki/Disengagement_theory [2019, May 21].