จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 212 : ความรู้สึกเรื่องเพศกับชราภาพ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-212

      

      การใช้ยาเสพติดผ่านการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous) เพิ่มความเสี่ยงสูง (Drastically) ของการติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ (HIV/AIDS) นอกจากนี้วิถีชีวิต (Life-style) ของการใช้ยาเสพติด ก็เชื่อมโยงในเชิงความน่าจะเป็น (Probabilistically linked) ไปยังระดับที่สูงขึ้น ของการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงสูง ตามที่นักวิจัยค้นพบ

      อีกปัจจัยสำคัญหนึ่ง คือระดับของการประเมินคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) ซึ่งระดับยิ่งต่ำ ก็ยิ่งจะมีความน่าจะเป็น (Probability) สูงของการเข้าไปเกี่ยวข้อง (Engaged) [ถูกชักชวน (Persuaded) หรือถูกบังคับ (Coerced)] กับพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยง อาทิ มีเพศสัมพันธ์ที่มิได้ป้องกัน (Unprotected)

      ผู้ใหญ่สูงวัยมิได้มีความเสี่ยง (Vulnerable) น้อยกว่ากลุ่มอายุอื่น ในเรื่องการติดเชื้อ (Infection) เอดส์ (AIDS) ในประเด็นนี้มีการพิสูจน์แล้วในงานวิจัยในสหรัฐอเมริกาว่า ประมาณ 15% ของกรณีทั้งหมดใน เอชไอวี (HIV) / AIDS เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ในกรณีคล้ายกัน (Similarly) 14% ของผู้ป่วยชายที่ตายจากเอชไอวีในสหรัฐอเมริกา มีอายุสูงกว่า 65 ปี

      ปัญหาสุดท้ายคือการได้รับการรักษาที่ค่อนข้างน้อย (Relative under-treatment) โดยนักวิชาชีพดูแลสุขภาพที่อาจให้คุณค่าต่ำ (Under-value) หรือเพิกเฉย (Ignore) ต่อความรู้สึกเรื่องเพศ (Sexuality) ของผู้สูงวัย หรือมิได้รับรู้ (Unaware) ถึงความแพร่หลาย (Prevalence) ของ เอชไอวี/เอดส์ ในผู้สูงวัย

      โดยทั่วไป สัดส่วนที่สูงขึ้นของการไร้สมรรถภาพทางเพศ (Sexual dysfunction) ในผู้สูงวัย ยังคงมิได้รับการเยียวยารักษา ในหลายกรณี มีความจำเป็นที่ชัดเจนและเร่งด่วน (Pressing) สำหรับนักวิชาชีพดูแลสุขภาพ ที่สามารถพูดคุย (Versed) ในประเด็นที่อยู่รอบๆ (Surrounding) ความรู้สึกเรื่องเพศและพฤติกรรมทางเพศ ในบั้นปลายของชีวิต

      นอกเหนือจากข้อจำกัดในสุขภาพของร่างกายแล้ว นักวิจัยพบว่า ระดับต่ำของกิจกรรมทางเพศ ยังขึ้นอยู่กับระดับกิจกรรมในวัยต้นของผู้ใหญ่ ซึ่งหมายความ (Imply) ว่า สภาวะ (State) ของชีวิตบั้นปลาย ถูกกำหนด (Determined) โดยพฤติกรรมของชีวิตก่อนหน้านั้น อย่างไรก็ตาม พึงจดจำว่า แรงขับเคลื่อนทางเพศ (Sex drive) แตกต่างอย่างมาก (Markedly) ในแต่ละบุคคล

      ในบั้นปลายของชีวิต ตัวกำหนดหลัก (Key determinant) ของกิจกรรมทางเพศคือระดับความสำคัญของเพศในแต่ละบุคคล แม้ว่าข้อโต้แย้งนี้ อาจหมุนเวียนเป็นวงกลม (Circular argument) อาทิ ถ้าบุคคลไม่สามารถร่วมเพศได้ กิจกรรทางเพศก็กลายเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ โดยเฉพาะแบบอย่าง (Stereotype) ของการสูญเสียตัณหาหรือความใคร่ (Libido) ตามปรกติในชีวิตบั้นปลาย แต่มิใช่ทุกรณีจะเอื้อต่อข้อโต้แย้งหมุนเวียน

      กล่าวให้ง่ายขึ้นก็คือ เป็นการไม่ถูกต้องที่จะสมมุติว่า มีระดับที่ถูกต้องของกิจกรรมทางเพศที่กำหนดไว้แล้ว หรือที่จะสมมุติว่า กิจกรรมทางเพศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่ต้องการให้เกิดขึ้นในชีวิตของวัยชรา

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Sexuality in older age - https://academic.oup.com/ageing/article/40/5/538/46578 [2019, April 30].