จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 211 : ความรู้สึกเรื่องเพศกับชราภาพ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-211

      

      ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของกิจกรรมทางเพศในบั้นปลายของชีวิต นักวิจัยสังเกตว่า การศึกษาที่ใกล้ปัจจุบันมากเท่าไร ผู้สูงวัยยิ่งยอมรับการมีเพศสัมพันธ์มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การที่กลุ่มผู้สูงวัยให้ข้อมูลที่น้อย มิใช่เพราะเขาไม่ค่อยมีเพศสัมพันธ์ แต่เพราะว่า เขาไม่เต็มใจเปิดเผยมากกว่า

      อีกปัญหาหนึ่งที่นักวิจัยมักกล่าวถึง (Cite) เกี่ยวข้องกับ (Concern) สิ่งที่ประกอบขึ้น (Constitute) ซึ่งคำว่า “เพศ” (Sex) ถ้าการร่วมเพศ (Penetrative intercourse) คือมาตรวัด (Measure) เดียวเท่านั้น ผู้สูงวัยอาจแสดงความลดถอยลงในกิจกรรมทางเพศ เมื่อเปรียบเทียบกับขอบเขตที่กว้างกว่า (Wide range) ของกิจกรรมอื่นๆ ที่ควรคำนึงถึง (Consider) ด้วย

      แต่อันที่จริง (In reality) ผู้สูงวัยในหลายวัฒนธรรมยังคงเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเพศอื่นๆ อาทิ การประโลม (Caressing) การจูบ (Kissing) และการโอบกอด (Hugging) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่า “เพศ” อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้มิได้เป็นจริงในทุกวัฒนธรรม

      ตัวอย่างเช่น ผู้สูงวัยชาวจีนมีแนวโน้มที่จะจำกัด (Restrict) นิยามของคำว่า “เพศ” ให้ครอบคลุมอย่างเคร่งครัด (Rigidly) เพียงการร่วมเพศกับเพศตรงข้าม (Heterosexual) แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า (Worth noting) ผู้สูงวัยที่ยังคงมีความรู้สึกทางเพศ (Sexually active) รายงานความพึงพอใจที่สูงกว่า (Greater satisfaction) ในกิจกรรมทางเพศที่ดื่มด่ำ (Indulge)

      ปัญหาถัดไป (Further) ที่ผู้สูงวัยเผชิญเป็นเรื่องของโอกาส (Opportunity) เนื่องจากผู้หญิงโดยเฉลี่ยแล้ว มีชีวิตยืนยาวกว่าผู้ชาย โลกนี้จึงมีจำนวนผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ดังนั้น ผู้หญิงสูงวัยจึงมีโอกาสในเพศสัมพันธ์ที่ลดลง (Diminish) หรืออาจหยุด (Cease) ไปเลย มิใช่เพราะ¬¬ขาดความสามารถ (Capability) หรือความเต็มใจ แต่เพราะขาดคู่ชีวิตที่คู่ควร (Suitable partner)

      สำหรับผู้สูงวัยที่พยายาม (Attempt) แสวงหาเพศสัมพันธ์ ผ่านพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ ใช้บริการโสเภณี (Prostitute)

      ก็จะมีโอกาสสูงทีจะติด (Contract) เชื้อโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually-transmitted) รวมทั้งเอดส์ (AIDS = Acquired Immune deficiency syndrome) ดังตัวอย่างต่อไปนี้

      ในการศึกษาชาวสวิส (Swiss) ประมาณ (Circa) 800 คน ที่มีอายุเกินกว่า 45 ปี พบว่า มีพฤติกรรมแสดง (Presenting) โอกาสที่จะติดเชื้อเอดส์สูงกว่าผู้ใหญ่วัยต้น ในการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยพบว่า 34% ของผู้มีอายุเกินกว่า 50 ปี ที่ติดเชื้อเอชไอวีบวก (HIV-positive) มีเพศสัมพันธ์เมื่อไม่นานก่อนหน้านี้โดยไม่ได้ป้องกัน (Unprotected sex)

      เหตุการณ์เช่นนี้ มีสหสัมพันธ์สูงกับความรู้สึกว้าเหว่ (Loneliness) และการใช้ยาเสพติด ปัจจัยเพิ่มเติมก็คือใน “ชั่วอายุคนรุ่นลูกดก” (Baby-boom generation) มีการใช้ยาเสพติด (Substance abuse) เป็นครั้งแรกอย่างกว้างขวาง (Widespread scale) และไม่เต็มใจ (Reluctance) ที่เลิกนิสัยนี้เมื่อสูงอายุขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาเสพติดของชั่วอายุคนก่อนหน้านี้

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Sexuality in older age - https://academic.oup.com/ageing/article/40/5/538/46578 [2019, April 30].