จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 210 : ความรู้สึกเรื่องเพศกับชราภาพ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-210

      

      นักวิจัยศึกษากลุ่มตัวอย่างของผู้คนอายุระหว่าง 57 ถึง 85 ปี แล้วพบว่า ผู้ชายทุกกลุ่มอายุ มีแนวโน้มที่จะมีคู่ชีวิต มีความรู้สึกทางเพศ (Sexually active) และมีมุมมองที่ยอมรับความรู้สึกทางเพศ (Permissive sexual view) เมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงซึ่งมีชีวิตคาด (Life expectancy) ที่ยืนยาวกว่า

      ในการศึกษาครั้งนั้น อาจมีผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort) เนื่องจากกลุ่มที่เข้ารับการวิจัย เป็นรุ่นสุดท้ายที่ผู้หญิงมีแนวโน้มน้อยในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางเพศอย่างเปิดเผย (Outwardly) แต่ดูเหมือนจะวิปริตร (Perversely) ที่กิจกรรมทางเพศยิ่งน้อย อายุคาดกลับไม่ได้รับผลกระทบ

      การสูญเสียโอกาสทางเพศ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในบั้นปลายของชีวิต อาจเนื่องจากการตายของคู่ชีวิต หรือ การหย่อนสมรรถภาพของร่างกาย เป็นต้น แบบฉบับ (Stereotype) ของคำกล่าวที่ว่า ผู้สูงวัยมีโอกาสน้อยลง (หรือไม่มีโอกาสเลย) ในเรื่องเพศสัมพันธ์ในบั้นปลายของชีวิต จึงเป็นสิ่งที่คาดหวังกัน เพื่อปลอบประโลม (Comfort) เท่านั้น

      การศึกษาเรื่องปฏิกิริยาสนองตอบต่อการสูญเสียคู่ชีวิตหรือการหย่อนสมรรถภาพของร่างกาย แสดงว่าผลกระทบในเชิงลบ อาจบรรเทาลง (Lessen) หรือถูกหักล้าง (Negated) โดยความคาดหวังว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของชราภาพตามปรกติ แต่มิได้หมายความว่า ผู้สูงวัยไม่ควรได้รับการสนับสนุนในเรื่องความสุขทางเพศ (Enjoyable sex)

      ในทางตรงกันข้าม นี่น่าจะเป็นข้อโต้แย้งอย่างอึกทึกคึกโคม (Vociferously) ได้ว่า การมีเพศสัมพันธ์เป็นสิทธิอัตโนมัติ (Automatic right) ที่อาจถูกแปรเจตนาอย่างผิดๆ (Misinterpreted) โดยผู้ที่ปราศจากโอกาส [ของเพศสัมพันธ์] เนื่องจากความล้มเหลวทางกายภาพ

      มีปัญหานานัปการ (Variety) ที่สัมพันธ์กับการศึกษาเรื่องความรู้สึกทางเพศในบั้นปลายของชีวิต ประการแรกเป็นเรื่อง (Concern) ของการสงวนท่าที (Reticence) โดยทั่วไป ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่รู้สึกเมื่อพูดถึงชีวิตทางเพศของตน นักวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 45 ถึง 64 ปี มีความตรงไปตรงมา (Frank) เกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศ ในการตอบแบบสอบถามที่ไม่เปิดเผยชื่อผู้ตอบ (Anonymous questionnaire) มากกว่าในการสัมภาษณ์

      ตัวอย่างเช่น กลุ่มตอบแบบสอบถถาม มีแนวโน้มเป็น 2 เท่าที่จะยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ตามโอกาสที่พลั้งเผลอ (Occasional) หรือไม่ถูกต้องตามประเพณี (Unconventional) การสงวนท่าทีนี้อาจง่ายต่อการขยายออกไปจากผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน เนื่องจากผู้สูงวัยได้รับการเลี้ยงดู [หรือเติบโต] ในช่วงเวลาที่ไม่ค่อยยอมรับการเปิดเผยความรู้สึกทางเพศ ผู้สูงวัยกลุ่มนี้อาจไม่คุ้นเคย (Accustomed) และอาจปราศจากคำศัพท์ (Vocabulary) ที่จะพูดคุยในประเด็นทางเพศ จึงอาจไม่เต็มใจที่ให้สัมภาษณ์หรือตอบแบบสอบถามทางด้านเพศ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Sexuality in older age - https://academic.oup.com/ageing/article/40/5/538/46578 [2019, April 23].