จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 208 : การสมรสกับชราภาพ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-208

      

      การตายจากของคู่สมรสมีผลกระทบที่เลวร้ายต่อผู้ชายมากกว่าต่อผู้หญิง ในคู่สมรส ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความพึงพอใจต่อชีวิตเมื่อเวลาผ่านพ้นไป ในขณะที่ผู้หญิง ไม่ได้รับผลกระทบเลย เหตุผลของระดับความพึงพอใจต่อชีวิต อาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิ ระดับการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของคู่ชีวิต (Life partner) นักวิจัยพบว่า สามีผู้สูงวัยมักพึ่งพาภรรยาในเรื่องการสนับสนุนทางอารมณ์ (Emotional support) ในขณะภรรยาพึ่งพาเพื่อนสนิทหรือญาติใกล้ชิดในเรื่องเดียวกันนี้

      แต่เมื่อเพื่อนสนิทเริ่มตายจาก และญาติใกล้ชิดเริ่มห่างเหิน (อาทิ ย้ายบ้าน) ภรรยาสูงวัยก็เริ่มสูญเสียแหล่ง (Source)) สนับสนุนทางอารมณ์ นักวิจัยพบว่า ประมาณ 20% ของคู่สมรสสูงวัย มีอาการ (Symptom) ของความว้าเหว่ อย่างมีนัยสำคัญ อารมณ์ว้าเหว่ (Emotional loneliness) จะทวีขึ้นในผู้หญิงในการแต่งงานครั้งที่ 2

      ในขณะเดียวกัน ความว้าเหว่ทางสังคม (Social loneliness) มักเกิดขึ้นในบ่อยกว่าในผู้ชายที่มีภรรยาพิการ (Disabled wife) และก็ไม่น่าประหลาดใจ (Unsurprisingly) ที่การมีกลุ่มเล็ก (Small circle) ของเพื่อนฝูงและการแต่งงานที่ขาดประสิทธิผลในการสื่อสาร ก็เพิ่มความรู้สึก (Sense) ว้าเหว่ได้เหมือนกัน

      นักวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงในชีวิตสมรสอาจเปลี่ยนแปลงไปเพื่อสนองตอบสถานการณ์ (Circumstances) ที่เปลี่ยนแปลงไป และคุณลักษณะ (Attribute) ของคู่สมรส (Spouse) อีกนักวิจัยหนึ่งรายงานว่า การเสื่อมถอยในการทำงาน (Functional decline) ของคู่สมรสคนหนึ่ง อาจมีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของระดับความซึมเศร้า (Depression) ของคู่สมรสอีกคนหนึ่ง

      นักวิจัยอื่นพบความสัมพันธ์ดังกล่าวแต่ค่อนข้างซับซ้อน (Complex) ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) เป็นเวลา 5 ปี นักวิจัยพบว่า การเสื่อมถอยในการทำงานของการรับรู้ (Cognitive) ในสามี ณ จุดเริ่มต้นของการวิจัย มีความสัมพันธ์กับการทำงานของการรับรู้ในภรรยาในเวลาต่อมา แต่เฉพาะคู่สมรสที่รายงานว่ามีปัญหาสมรส (Marital problem) เท่านั้น

      อย่างไรก็ตาม การเสื่อมถอยในการทำงานของการรับรู้ (Cognitive) ในตัวภรรยา ณ จุดเริ่มต้นของการวิจัย ไม่มีความสัมพันธ์กับการทำงานของการรับรู้ในตัวสามีในเวลาต่อมา ซึ่งดูเหมือนว่า ภรรยาจะสนองตอบต่อคู่สมรสมากกว่าสามี อย่างไรก็ตาม นักวิจัยมองเพียงมิติ (Aspect) ของการทำงานด้านจิตวิทยา นักวิจัยอื่นมองความผาสุกทางจิต (Well-being) แล้วพบรูปแบบที่กลับกัน (Reverse pattern)

      สรุปแล้ว ความผาสุกทางจิตของภรรยาสามารถพยากรณ์ (Predict) ความผาสุกทางจิตของสามีในเวลาต่อมาได้ แต่ไม่เป็นจริงในทางกลับกัน (Vice versa) อันที่จริง นักวิจัยพบว่าระดับความผาสุกทางจิต (Subjective well-being) ของภรรยายิ่งสูงเท่า การเสื่อมถอยยิ่งตื้น (Shallow) [ชะลอลง] ในความผาสุกทางจิตของสามี

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Marriage in Old Age - https://publishing.cdlib.org/ucpressebooks/view?docId=kt9z09q84w&chunk.id=ch14&toc.id=ch09&brand=ucpress [2019, April 9].