จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 205 : ปรปรักษ์กับชราภาพ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-205

      

      นักวิจัยพบว่า ระดับการศึกษาเป็นตัวพยากรณ์ (Predictor) ที่มีนัยสำคัญของความด้อยความสามารถในการเคลื่อนไหว (Mobility disability) ในบั้นปลายของชีวิต โดยที่ผู้มีการศึกษาระดับต่ำ (6 ปีหรือต่ำกว่านั้น) มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวไม่ได้ประมาณ 1.7 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่า 12 ปี

      หัวข้อ (Topic) ที่สัมพันธ์กัน คือปรปรักษ์ (Hostility) กับชราภาพ อันที่จริง ปรปรักษ์เป็นประเภทหนึ่งของบุคลิกภาพ (Personality) ที่มีคำนิยามว่า “แนวโน้ม (Orientation) ในเชิงลบต่อผู้อื่น อันเป็นการแสดงออก (Manifestation) ซึ่งการรับรู้ (Cognitive) อารมณ์ (Affective) และพฤติกรรม (Behavioral)

      งานวิจัยบางชิ้น รายงานระดับที่สูงขึ้นของปรปรักษ์ในบรรดาผู้ใหญ่เยาว์วัยกับผู้ใหญ่สูงวัย แต่ก็อาจลดระดับลงทั้ง 2 กลุ่มนี้ เมื่อมีการปรับเปลี่ยน (Adaptive) ในบางส่วน เนื่องจากข้อคิดขัดแย้งที่เป็นคุณ (Healthy cynicism) เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อผู้ใหญ่เยาว์วัยที่ค้นพบหนทางในการมองโลก และผู้ใหญ่สูงวัยที่เพิ่มการพึ่งพาบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคม

      นักวิจัยยังพบว่าปรปักษ์มีความสัมพันธ์กับการเคยถูกปฏิบัติอย่างไม่ตามครรลอง (Mistreated) อย่างไรก็ตาม นักวิพากษ์วิจารณ์ (Commentator) ได้โต้เถียงว่า ปรปักษ์อาจเป็นโทษ (Disadvantageous) เนื่องจากระดับสูงของปรปรักษ์ มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงสูงของโรคหัวใจ และความเจ็บป่วยอื่นๆ

      นอกจากนี้ ปรปักษ์ยังมีสหสัมพันธ์กับระดับการทำงานของการรับรู้ (Cognitive function) กล่าวคือ ยิ่งมีปรปักษ์สูง ยิ่งลดทักษะการรับรู้ เพียงแต่อัตราการลดลงดังกล่าว มิได้ดำเนินไปในบั้นปลายของชีวิต พึงสังเกตว่าปรปักษ์เป็นหนึ่งในบรรดาอุปนิสัย (Trait) ซึ่งได้รับการรวบรวมเป็นกลุ่มก้อน (Host) เป็นตัวอย่างของผลกระทบในเชิงลบ

      อย่างไรก็ตาม การศึกษาทุกครั้ง มิได้รวมถึงผลกระทบของอุปนิสัยในเชิงลบอื่นๆ ด้วย ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่บางบาป (Sin) ของปรปักษ์ ได้ถูกตราไว้อย่างแม่นยำว่า โดยทั่วไปเป็นผลิตผล (Product) ของผลกระทบในเชิงลบ ถ้าปรปักษ์ได้รับการทดสอบในเชิงกว้าง

      แต่ก็เป็นไปได้ที่มีการกะประมาณสูงเกินไป (Over-estimate) สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสุขภาพทางร่างกายและจิตใจ ตัวอย่างเช่น ตัวพยากรณ์ที่ดีของสุขภาพร่างกายในบั้นปลายของชีวิตสะท้อนถึงสุขภาพร่างกายในชีวิตก่อนหน้านั้น เกือบ 40 ปีมาแล้ว ที่นักวิจัยสังเกตว่า การเจ็บป่วยจำนวนมากในบั้นปลาย¬ของชีวิต มาจากการทนทุกข์ทรมาน (Complaint) ทางร่างกายในชีวิตวัยก่อนหน้า (Precede) นั้น

      นอกจากนี้ ปรปักษ์อาจสัมพันธ์กับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม หากฐานะดังกล่าวในวัยเด็ก (Childhood) อยู่ในระดับต่ำ ก็จะสัมพันธ์กับสถานะสุขภาพในระดับต่ำในบั้นปลายของชีวิตด้วยเช่นกัน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Age differences in hostility among middle-aged and older adults - https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8461112 [2019, March 19].