จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 204 : สู่ปัจจัยทางจิตและสุขภาพ (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-204

      

      ในการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) นักวิจัยพบว่า ผู้สูงวัยที่เคยหกล้ม (Fall) จะรู้สึกกลัว (Frighten) ต่อการหกล้มอีกครั้ง จึงมีระดับกิจวัตรประจำวันที่ต่ำ แต่ความกลัวและกิจกรรมน้อยดังกล่าวตัวพยากรณ์ (Predictor) ที่ดีที่สุดสำหรับการหกล้มในปีต่อๆ มา (Subsequent)

      การค้นพบเช่นนี้ ต้องพินิจพิเคราะห์ด้วยความระมัดระวัง ในระดับ (Degree) หนึ่ง เพราะอาจเป็นไปได้ ที่สาเหตุรากเหง้า (Underlying) ทางร่างกาย ทำให้ผู้คนหกล้ม และอาจไม่ยากที่จะค้นหาประจักษ์หลักฐานของสาเหตุทางร่างกายที่ทำให้หกล้ม อย่างไรก็ตาม บนพื้นฐานเบื้องต้น (Priori ground) ข้อโต้แย้งแบบ “วงจรอุบาทก์” (Vicious circle) ก็เป็นความจริง อันเนื่องจากพฤติกรรมของการหกล้ม อย่างน้อยก็ในบางกรณี

      เราคงปฏิบัติไม่ได้ว่าความกลัวหกล้มมีผลสืบเนื่อง (Consequence) ต่อคุณภาพของชีวิต และยังมีผลต่อสุขภาพโดยทั่วไปถ้ามีการจำกัด (Restrict) การเคลื่อนไหว (Mobility) อย่างไม่สมควร (Unduly) แต่ก็อาจไม่ชาญฉลาด (Unwise) ที่จะตั้งข้อสมมุติฐานว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางร่างกายและทางจิตใจ ต้องเป็นสาเหตุเดียวเท่านั้น (Purely causal)

      ในหลายกรณี บางปัจจัยอาจดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงความแข็งแกร่งของแสดงออก (Expression) ของอีกปัจจัยหนึ่ง มากกว่าเป็นเพียงสาเหตุที่ทำให้เกิด (หรือมิให้เกิด) อีกปัจจัยนั้น ตัวอย่างเช่น นักวิจัยเชื่อว่า ถ้าผู้สูงวัยมีความรู้สึกที่แข็งแกร่งของอัตลักษณ์ทางสังคม (Social identity) อาจเป็นกันชน (Cushion) ของผลกระทบเชิงลบของความเสื่อมถอยในสุขภาพร่างกาย เมื่อไม่อาจทำอะไรได้มากเกี่ยวกับการป้องกันมิให้มันเกิดขึ้น

      การวิเคราะห์การถดถอยเชิงสถิติ (Regression analysis) ของผู้ป่วยสตรีสูงวัย 1,200 คนสนับสนุนข้อสมมุติฐานนี้ นักวิจัยยังค้นพบอีกว่า ปัจจัยทางจิตเป็นตัวเกลี่ย (Mediate) ผลกระทบของความเจ็บป่วยต่อความสามารถของผู้สูงวัยมากๆ (Old-old people) ในกิจวัตรปะจำวัน

      อันที่จริง การมีเครือข่ายสนับสนุน ดูเหมือนจะช่วยเพิ่มพูน (Enhance) สุขภาพในผู้สูงวัย นักวิจัยพบว่า ผู้คนที่รายงานการได้รับการสนับสนุนในระดับสูงของเครือข่ายสังคม (Social network) แสดงการฟื้นฟู (Recovery) ที่เร็วขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการบาดเจ็บที่สัมพันธ์กับการหกล้ม ทั้ง 5 และ 12 เดือนหลังจากการหกล้ม

      นอกจากนี้ นักวิจัยยังค้นพบว่า ขนาด (Size) ของเครือข่ายสังคม มีความสัมพันธ์กับความน่าจะเป็น (Probability) ที่บุคคลจะถูกบังคับให้เลิก (Give up) กิจกรรม อันเนื่องจากความเจ็บป่วยหรือการด้อยความสามารถ (Disability) ที่จะเพิ่มอีกกิจกรรมหนึ่งเพื่อทดแทนกิจกรรมเดิม ปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคม (Socio-economic) ก็อาจมีผลกระทบ เช่นกัน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Psychological well-being, health and ageing https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4339610/ [2019, March 12].