จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 196 : ผลกระทบของวัยเกษียณ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-196

      

      นักวิจัยแยกประเภท (Categorize) ชาวอเมริกันผู้เกษียณจากการทำงาน ตามทัศนคติที่เขามีต่อการเกษียณอายุ แล้วพบว่า ค่าใช้จ่าย (Expenditure) จะสูงขึ้นในกิจกรรมที่มองออกจากภายในออกไปยังภายนอก (Outward-looking) ถ้าบุคคลที่เกี่ยวข้องมองเกษียณอายุเป็นสิ่งเริ่มต้นใหม่ (New start) หรือ “ทำลายเพื่อก่อสิ่งใหม่” (Disruption)

      ในทางตรงข้าม ถ้าผู้เกษียณมองการเกษียณอายุเป็น “การต่อเนื่องของชีวิต” (Continuation of life) หรือ “การเริ่มต้นของวัยชรา” (Onset of old age) ก็มีแนวโน้มที่ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นในกิจกรรมที่มองจากภายนอกเข้ามายังภายใน (Inward-looking) แต่นี่เป็นเพียงประเภทหนึ่งของกิจกรรม ที่ไม่จำเป็นต้องประยุกต์ใช้ไปทั่ว (Universally) ทุกประเภทของกิจกรรม

      ความฝันยอดนิยมอย่างอื่นของการเกษียณอายุ ได้แก่โอกาส (Prospect) ของชีวิตยืนยาว และสถานที่น่ารื่นรมย์สำหรับอยู่อาศัย ดูเหมือนนี่คือความปรารถนาที่สมเหตุผลสุดๆ (Utterly reasonable) แต่ [ในโลกแห่งความเป็นจริง] ผู้คนมักไม่ได้ตรวจสอบประเด็นนี้อย่างลึกซึ้งเพียงพอ (Sufficient depth)

      นักวิจัยตั้งคำถามผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) ชาวอเมริกันว่า เขาเหล่านั้นต้องการชีวิตที่เหลืออยู่อีกเพียง 2 – 3 ปี ด้วยสุขภาพสมบูรณ์ (Perfect health) หรือชีวิตที่เหลืออยู่อีกหลายปีด้วยสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ (Imperfect health) ปรากฏว่า ชาวอเมริกันผิวขาวเลือกข้อแรก ส่วนชาวอเมริกันผิวดำเลือกข้อหลัง

      บทสรุปก็คือ ผู้คนที่มีการศึกษาระดับที่ต่ำกว่าต้องการมีชีวิตอยู่ยาวนานกว่า แม้ด้วยสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ คำตอบเหล่านี้สะท้อน (Echo) การค้นพบความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการสนับสนุนการยืดอายุชีวิต (Extending life) ระหว่างการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย (Terminal illness) ที่ต้องแลกด้วย (At the expense of) คุณภาพของชีวิต (Quality of life)

      ปริศนาที่ท้ายทาย (Conundrum) ของนักวิจัย คือปัญหาที่อาจไม่มีทางออก อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ (Instance) การวางแผนสำหรับอนาคตอาจเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือผิดไปเลย การศึกษาผู้เข้าร่วมวิจัยชาวดัตช์ (Dutch) แสดงว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีความรู้ด้านการเงิน (Financial literacy) มีแนวโน้มที่จะวางแผนล่วงหน้าสำหรับการเกษียณอายุ

      นี่อาจมิใช่สิ่งที่น่าประหลาดใจ เนื่องจากการรู้เรื่องการวางแผนเกษียณอายุ เป็นส่วนสำคัญ (Part and parcel) ของการอ่านออก-เขียนได้ทางการเงิน (Financial literacy) อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลัก คือความจำเป็น (Necessity) ของการให้การศึกษาทางการเงิน ต้องเริ่มต้นแต่เนิ่นๆ เพราะการวางแผนการเกษียณอายุต้องอาศัยการออมเงินนับสิบๆ ปี

      บทสรุปก็คือ การเกษียณอายุไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาของปัญหา (Problem), สุขภาพที่ไม่แข็งแรง (Ill health), และความทุกข์ทรมาน (Misery) แต่จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะการเงิน ซึ่งจำเป็นต้องเริ่มต้นแต่เนิ่นๆ ในผู้ใหญ่วัยต้น (Early adulthood)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. The Effects of Retirement on Physical and Mental Health Outcomes - https://www.nber.org/papers/w12123 [2019, January 15].