จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 191 : สู่ชีวิตวัยเกษียณ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-191

      

      ไม่น่าแปลกใจเลยว่า งานวิจัยพบว่า สำหรับคนจำนวนมาก อายุมิใช่เกณฑ์กำหนด (Irrelevant criteria) ของวัยเกษียณจากการทำงาน แต่ที่น่าแปลกใจก็คือในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนของผู้ชายที่ทำงานระหว่าง 55 ถึง 65 ปี ได้ลดลง แต่สัดส่วนเดียวกันของผู้หญิงที่ทำงาน กลับเพิ่มขึ้น

      เป็นไปได้ที่เราอาจมองวัยเกษียณจากมิติ (Angle) ที่แตกต่าง อาทิ ทางเศรษฐกิจและสังคม แต่ในบริบทที่เราเกี่ยวข้องด้วย จะจำกัด (Restrict) ประเด็นจากมิติทางจิตวิทยาเท่านั้น นักวิจัยบางคนปฏิบัติต่อวัยเกษียณ เป็นขั้นตอนหนึ่งหรือปัจจัยหนึ่ง ในแบบจำลอง (Model) ของพัฒนาการชราภาพ หรือช่วงอายุของชีวิต (Life-span)

      ถ้าเราจะเชื่อถือเรื่องเล่าขาน (Folklore) ของการทำงานในสำนักงาน การเกษียณก่อนกำหนด (Early retirement) เป็นหนทางที่เป็นประโยชน์ในการกำจัดบุคคลที่ไร้ประสิทธิภาพที่สุด หรือหลบงาน (Work-shy) มากที่สุด อันเป็นมิติที่นักวิจัยจำนวนมากมิได้พิจารณาถึง

      ในทางกลับกัน (Conversely) การเกษียณก่อนกำหนดไปทั่ว (Widespread) ของนักวิชาชีพมีทักษะ (Skilled professionals) อาทิ แพทย์ และพยาบาล นำไปสู่ปัญหาสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างน้อยในช่วงเวลาที่มีผู้ตกงาน (Unemployment) จำนวนมาก กรณีโรคซึมเศร้า (Depression) ที่สัมพันธ์กับการเกษียณก่อนกำหนด จะพุ่งขึ้น

      เงื่อนไขอื่นของจิตเวช (Psychiatric condition) อาทิ บุคลิกภาพ (Personality) และความกังวลผิดปรกติ (Anxiety disorder) ก็จะทำให้ความน่าจะเป็น (Probability) สูงขึ้นสำหรับการเกษียณก่อนกำหนด

      นักวิจัยได้ตรวจสอบกระบวนการเฉพาะของการเกษียณ หรือประเด็นของแต่ละบุคคลที่สัมพันธ์กับกระบวนการเกษียณ จากงานวิจัยนี้มี 2 คำถามที่เกิดขึ้น (Emerge) ซ้ำแล้วซ้ำอีก (Recurring) คำถามแรกก็คืออะไรกำหนดลักษณะ (Nature) ของการเกษียณ? กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้คนจะมีความสุขมากน้อยแค่ไหนเมื่อได้เกษียณ? และ คำถามที่ 2 ผู้คนวางแผนอย่างไรสำหรับหลังเกษียณอายุ?

      ในคำถามแรก คำตอบมักมุ่งเน้นไปที่ระดับ (Degree) ซึ่งผู้คนรู้สึกว่าเขาสามารถควบคุมการเกษียณของตนได้แค่ไหน? นักวิจัยรายงานการศึกษาในบรรดาชาวอเมริกันที่รู้สึกว่า “ถูกบังคับ” ให้เกษียณจากการทำงาน จะมีระดับความเป็นอยู่ (Well-being) ที่ลดลง และอาจ (อย่างไม่น่าแปลกใจ) มีแนวโน้มที่จะร้องทุกข์ว่าถูกบังคับให้เกษียณจากการทำงานอย่างไม่เต็มใจ

      อย่างไรก็ตาม อาจเป็นการยากที่จะไม่รวม (Exclude) ความเป็นไปได้ที่ว่า ผู้คนเหล่านั้นได้ทนทุกข์ทรมานกับปัญหามามากจนต้องร้องเรียน ซึ่งนักวิจัยได้แยกแยะเป็น 3 ปัจจัย อันได้แก่ การขาดงาน (Missing work), สุขภาพ, และความสัมพันธ์

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Retirementhttps://en.wikipedia.org/wiki/Retirement [2018, December 11].