จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 189 : คุณภาพชีวิตข้ามวัฒนธรรม (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-189

      

      มีประจักษ์หลักฐานอะไรสำหรับความเสี่ยง 2 เท่า (Double jeopardy) หรือ 3 เท่า? กล่าวคือ ผู้สูงวัยในชนหมู่น้อย (Ethnic minority) เสียเปรียบ (Disadvantaged) อย่างมีนัยสำคัญ จริงหรือ? การพบว่า ผู้สูงวัยจากลุ่มชนหมู่น้อยมีสุขภาพที่แย่กว่า ไม่อาจสรุปตามที่ปรากฏแก่สายตา (Face value) เนื่องจากชนหมู่น้อยมักมีสถานะทางเศรษฐกิจ-สังคม ที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นตัวแปรร่วม (Confounding variable) ที่ทรงพลัง

      นักวิจัยก่อนหน้านี้ค่อนข้างสงสัย (Skeptical) ว่าปัญหาที่แท้จริง (Genuine) เกิดขึ้นได้อย่างไร? โดยแนวความคิดของความเสี่ยง 2 เท่า ได้รับการสนับสนุนอย่างไม่แน่ชัด (Equivocal) แต่ในการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้ปรับ (Adjusted) ข้อมูลสำหรับตัวแปรเศรษฐกิจ-สังคม พบว่าผู้สูงวัยจากชนหมู่น้อยมีสุขภาพแย่กว่าผู้สูงวัยจากวัฒนธรรมของชนหมู่มาก (Majority)

      นอกจากนี้ ความแตกต่างนี้มีนัยสำคัญมากกว่าในผู้สูงวัย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เยาว์วัยจากวัฒนธรรมเดียวกัน วรรณกรรม (Literature) จากงานวิจัยเต็มไปด้วยนานาตัวอย่าง ดังรายการต่อไปนี้ ซึ่งตั้งใจ (Intended) จะให้เป็นการแสดงตัวอย่าง (Illustrative) มากกว่าการครอบคลุมอย่างสมบูรณ์ (Exhaustive)

  • งานวิจัยหนึ่ง สาธิตให้เห็นว่า โรคสมองเสื่อม (Dementia) ได้รับการตรวจวิเคราะห์ (Diagnosis) น้อยเกินไป ในผู้สูงวัยจากชนหมู่น้อย แต่ในทางกลับกัน (Conversely) มากเกินไปในผู้มีอายุ 60 ปี หรือต่ำกว่า เนื่องจากปัจจัยหลากหลายรวมทั้งปัญหาในการใช้ระบบดูแลสุขภาพ และแสวงหาความช่วยเหลือ
  • งานวิจัยชิ้นหนึ่ง พบว่าชนหมู่น้อยบางกลุ่มแสดง (Display) รูปแบบ (Pattern) ของการเปลี่ยนแปลงในระดับด้อยความสามารถทางร่างกาย (Physical disability) แม้จะสังเกตเห็นความเหมือน (Similarity) ระหว่างกลุ่มชนหมู่น้อย
  • งานวิจัยชิ้นหนึ่ง พบว่าผู้สูงวัยชาวอเมริกันเชื้อสายอัฟริกัน มีแนวโน้มน้อยที่จะใช้บริการทางการแพทย์ที่หลากหลาย และคำอธิบายนี้ก็ยังเป็นจริง หลังจากได้พิจารณาถึงความแตกต่างทางการเงิน
  • งานวิจัยชิ้นหนึ่ง พบความแตกต่างที่เหมือนกันในระดับการออกกำลังกายและการกินอาหารเพื่อสุขภาพ (Health diet) ในบรรดาชาวแคลิฟอร์เนียด้วยกัน
  • งานวิจัยหนึ่ง พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มชนหมู่น้อยที่ใช้บริการสถานพยาบาลขั้นสุดท้ายของชีวิต (Hospice)
  • งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า ในบรรดาผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ชาวอเมริกันเชื้อสายเม็กซิกันและอัฟริกัน ได้รับการดูแลเฉพาะทางน้อยกว่า และเข้าการรับรักษาด้วยยาน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับชนหมู่มาก เนื่องจากความยากจน ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นในโรคหลอดเลือดสมอง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Comparing the importance of different aspects of quality of life to older adults across diverse cultureshttps://academic.oup.com/ageing/article/40/2/192/46451 [2018, November 27].