จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 187 : ความแตกต่างข้ามวัฒนธรรม (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-187

      

      นักวิจัยรายงานว่าชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติในเชิงลบต่อผู้สูงวัยมากกว่าชาวจีน อาจกล่าวได้ว่าการแสดงออก (Expression) ของทัศนคติต่อชราภาพในเชิงลบยังคงมีอยู่ เพียงแต่อาจแตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรม แต่การเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตก ก็มิได้แสดงว่าทุกๆ ทัศนคติและพฤติกรรม จะเป็นไปในทิศทางที่คาดคิดกัน

      ตัวอย่างเช่น นักวิจัยทีมหนึ่ง พบว่าทั้งหญิงและชายชาวออสเตรเลีย ต่างทำคะแนนคุณภาพชีวิตในวัยกลางคน ได้สูงกว่าทั้งหญิงและชายชาวไต้หวัน ส่วนนักวิจัยอีกทีมหนึ่ง พบว่าชาวอเมริกันสูงวัยมีระดับการมองโลกในแง่ดีหรือแนวโน้มที่จะคาดหวังผลลัพธ์ในเชิงบวกเมื่อเปรียบเทียบกับในเชิงลบ (Dispositional optimism) มากกว่าชาวอเมริกันเยาว์วัย

      แต่ชาวจีนฮ่องกงจะพบกับสถานการณ์ในทางกลับกัน (Reverse) กล่าวคือผู้เยาว์วัย มีการมองโลกในแง่ดี มากกว่าผู้สูงวัย อย่างไรก็ตาม พึงสังเกตว่า เป็นที่รู้กันว่า การศึกษาเรื่องการมองโลกในแง่ดีมักสร้าง (Produce) ผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอน (Capricious)

      ข้อแม้ (Caveat) สุดท้าย ก็คือ การให้น้ำหนักความแตกต่างระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตกมากเกินไป โดยความหมายทางอ้อม (Imply) ก็คือวัฒนธรรมตะวันตกมีความคล้ายคลึงกันในชนชาวฝรั่ง และเช่นเดียวกับ (Ditto) วัฒนธรรม¬ตะวันออกมีความคล้ายคลึงกันในชนชาวเอเชีย ซึ่งนักวิจัยพบว่า ความหมายทางอ้อมนี้ไม่เป็นความจริง

      นักวิจัยพบว่า ผู้สูงวัยชาวอเมริกันมีความรู้สึกควบคุมตนเอง (Sense of personal control) สูงกว่าชาวอังกฤษ อย่างมีนัยสำคัญ และพบความแตกต่างในการแทน (Representation) ชราภาพ ในบรรดาผู้เข้าร่วมวิจัยชาวอิตาเลียนกับชาวบราซิล แต่ไม่พบความแตกต่างเหล่านี้อย่างคงเส้นคงวา (Consistent) และแม้แต่ในการสลับลำดับ (Permutation) ความแตกต่างที่เท่าที่เป็นไปได้

      การเปรียบเทียบผู้เข้าร่วมวิจัยชาวบราซิลและชาวอเมริกันที่มีอายุหลากหลาย แสดงว่า ความแตกต่างทางสัญชาติ (Nationality) ไม่มีผลต่อความแตกต่างในอายุ แต่ความแตกต่างทางวัฒนธรรมในอายุมิได้ยึดติดตายตัว (Fixed) อยู่กับรูปแบบ (Pattern) เพียงชุดเดียว (Single set)

      การอภิปรายเรื่อความแตกต่างข้ามวัฒนธรรม (Cross-cultural) มักสร้างภาพที่สบสน (Confused) อันที่จริง วัฒนธรรมย่อมแตกต่างกันอยู่แล้ว แต่ความแตกต่างอาจไม่เป็นไปตามที่คาดคิด หรือไม่จำเป็นต้องอยู่ในทิศทางที่สมมุติกันตามที่สังหรณ์ใจ (Intuition) อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือเราต้องรับรู้ความแตกต่างเหล่านี้ มาตรวัดหลัก (Key) ของการอยู่ดี (Well-being) ในผู้สูงวัย คือ คุณภาพชีวิต (Quality of life : QOL) ซึ่งใช้วัด (Gauge) ว่า บุคคลมีความพอใจ (Content) กับวิถีชีวิต (Life-style) และประสบการ์ในชีวิตประจำวันของเขาอย่างไร?

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Basic cultural values and differences toward health, illness and treatment preferences https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8843499 [2018, November 13].