จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 186 : คุณภาพชีวิตข้ามวัฒนธรรม (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-186

      

      ความแตกต่างทางวัฒนธรรมสร้างความคาดหวังที่แตกต่างในเรื่องสิ่งที่ประกอบ (Constitute) เป็นคุณภาพชีวิตที่ดี (Quality of good life) ดังนั้นผู้คนในแบบฉบับ (Typical) ของวัฒนธรรมหนึ่ง อาจคิดว่า สิ่งที่มีอยู่ (Existence) แทบจะไม่เพียงพอ (Barely adequate) และไม่สนองตอบความต้องการของตน ในขณะที่สิ่งเดียวกันอยู่ในอ้อมกอดของความฟุ่มเฟือย (Lap of luxury) ของอีกวัฒนธรรมหนึ่ง

      นี่หมายความว่า การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตข้ามวัฒนธรรม อาจเต็มไปด้วย (Fraught with) ความยากลำบาก หากไม่เผื่อให้ (Allowance) กับความแตกต่างทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ ประชากรวัยชราได้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน (Proportion) ที่ตามมาด้วย (Concomitant) โรคภัยไข้เจ็บที่น่าจะเป็น (Probabilistic disease) ในบั้นปลายของชีวิต อาทิ โรคมะเร็ง (Cancer) โรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardio-vascular) และโรคทางเดินหายใจ (Respiratory)

      ในช่วงเวลาหนึ่ง การเพิ่มขึ้นของโรคภัยไข้เจ็บเหล่านี้ และตัวแปรทางประชากรศาสตร์ (Demographic variable) หมายความว่า คุณภาพชีวิตจะเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Flux) และท้าทายความสามารถของผู้ให้บริการ สิ่งที่อยู่ในรัศมี (Tangential) เดียวกันนี้ก็คือ สังคมของประเทศกำลังพัฒนา หรือมิใช่อุตสาหกรรม (Non-industrialized) ให้ความสำคัญค่อนข้างสูง (High regard) แก่สถานะ (Status) พิเศษของบั้นปลายชีวิต

      โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ขาดระบบภาษาเขียน (Written language system) ผู้สูงอายุมีคุณค่ามากสำหรับความทรงจำของเหตุการณ์ในอดีต อย่างไรก็ตาม ในหลายประเทศตะวันออก ผู้สูงวัยมักไม่แข็งแรง (Infirm) ทั้งร่างกายและจิตใจ ความสำคัญดังกล่าวจึงด้อยคุณค่าลง (Less favorably)

      แต่ทัศนคติต่อผู้สูงวัยในประเทศเหล่านี้ก็มิได้อยู่นิ่ง (Stasis) ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบการเปลี่ยนแปลง (Shift) ที่มีนัยสำคัญของทัศนคติต่อผู้สูงวัย ในบรรดาชาวกานาที่อยู่ในเมือง (Urban Ghanaians) โดยมีความคาดหวังที่สูงขึ้นว่า ผู้สูงวัยจะแสดงการพึ่งพาตนเองมากขึ้น แทนที่จะพึ่งพาสมาชิกครอบครัวที่เยาว์วัยที่ให้การเลี้ยงดู (Support) ค่อนข้างมาก ตามประเพณีที่ปฏิบัติกันมาแต่อดีต (Traditional)

      นักวิจัยอธิบาย (Attribute) ว่า การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Sea change) ¬ของทัศนคติต่อผู้สูงวัยดังกล่าว เป็นเพราะวัฒนธรรมวัตถุนิยม (Materialism) ในประเทศกานานั่นเอง

      กลุ่มชนหมู่น้อยในประเทศพัฒนาแล้ว หรือสังคมอุตสาหกรรม มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญค่อนข้างมาก รวมทั้งการปฏิบัติ (Treatment) ต่อผู้สูงวัย อาจเป็นเพราะสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงของครอบครัวที่อยู่ด้วยกันหลายชั่วอายุคน (Multi-generational households) และความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด (Closely-knit) ของสมาชิกภายในครอบครัว

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Comparing the importance of different aspects of quality of life to older adults across diverse cultureshttps://academic.oup.com/ageing/article/40/2/192/46451 [2018, November 13].