จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 184 : ทัศนคติทางอ้อม (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-184

      

      ในการทดลองก้อนไม้ (Block of trials) หลายครั้ง ผู้เข้าร่วมวิจัยได้เห็นก้อนไม้เป็นคู่ (Pair) ในหลากหลายรูปแบบ (Combination) ก่อนเริ่มวางเรียงแต่ละก้อนไม้ ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการบอกเล่าให้กดปุ่มสนองตอบ (Response button) ถ้าเห็นรูปแบบหนึ่งของการจับคู่ปรากฏขึ้น และกดอีกปุ่มหนึ่ง ถ้าการจับคู่อีกรูปแบบหนึ่งปรากฏขึ้น

      ขั้นตอนปฏิบัติทั้งหมด (Full procedure) ค่อนข้างยุ่งยาก (Laborious) ต่อการอธิบาย แต่เมื่อการทดสอบสิ้นสุดลง การวัดผลความแตกต่างในเรื่องเวลาสนองตอบเฉลี่ย (Mean response time) ในคู่ที่สอดคล้องกันและไม่สอดคล้องกัน จะพบว่ายิ่งเวลาสนองตอบเฉลี่ยแตกต่างกันมาก ทัศนคติทางอ้อม (Implicit attitude) ก็ยิ่งปรากฏให้เห็นมากขึ้น

      แม้ว่าการทดสอบทัศนคติทางอ้อม จะเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง แต่การศึกษาในเรื่องทัศนคติต่อชราภาพ และผู้สูงวัยค่อนข้างจะหายาก (Rare) อย่างไรก็ตาม มีวรรณกรรม (Literature) ค่อนข้างมากในเรื่องการยอมรับทางวัฒนธรรมโดยปริยาย (Tacit) ของค่านิยมลำเอียงในเชิงลบต่อชราภาพ

      กลุ่มนักวิจัยแสดงให้เห็น (Demonstrate) ถึงทัศนคติลำเอียงในเชิงลบต่อชราพที่เด่นชัด (Pronounced) เมื่อใช้การทดสอบทัศนคติทางอ้อม ซึ่งเป็นการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ที่มีการทำซ้ำ (Replicated) โดยอีกกลุ่มนักวิจัยหนึ่ง นักวิจัยเหล่านี้พบว่าคะแนนทัศนคติทางอ้อมยิ่งมีความลำเอียง (Prejudicial) ในเชิงลบน้อยลง ยิ่งทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยติดต่อกับผู้สูงวัยมากขึ้น

      นี่น่าจะเป็นนิมิต (Bode) ดีสำหรับหลายสถานการณ์ของการพยาบาลและการแพทย์ เนื่องจากมันส่อเป็นนัย (Imply) ว่าผู้คนที่ทำงานสม่ำเสมอ (Regularly) กับผู้สูงวัย จะมีทัศนคติทางอ้อมในเชิงบวกมากกว่า อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนัก (Bear in mind) ว่า สิ่งที่นักวิจัยทั้งหมดค้นพบ เป็นการลดทอน (Lessening) ความลำเอียงในเชิงลบลง ซึ่งไม่จำเป็นต้องถึงกับปราศจากความลำเอียงในเชิงลบเลย

      ผู้สูงวัยยังคงถูกมองในเชิงลบ แม้โดยผู้ที่ติดต่อเขามากที่สุด การศึกษาของนักวิจัยแสดงให้เห็นแนวโน้มที่น่ากังวลขึ้นไปอีก นักศึกษาพยาบาลที่ต้องติดต่อกับผู้ป่วยสูงวัยเป็นประจำมีทัศนคติทางอ้อมที่เป็นลบ แต่ทัศนคติทางตรงหรือเปิดเผย (Explicit) เป็นเชิงบวก กล่าวโดยสรุป นักศึกษาดังกล่าวดูเหมือนจะ “ปากหวาน” (Lip service) ในการสนับสนุนผู้ป่วยสูงวัยอย่างเปิดเผย ในขณะที่ทัศนคติทางอ้อมของเธอนั้นลำเอียงในเชิงลบต่อชราภาพ

      มีการติดตามผลของนักศึกษาพยาบาลเหล่านั้นในอีก 1 ปีต่อมา พบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ผล (Performance) จากมาตรวัดทางอ้อมและทางตรง (เปิดเผย) มิได้มีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการมีทัศนคติทางอ้อมต่อชราภาพและผู้สูงวัย บทสรุปนี้ยังอยู่ในขั้นต้น (Infancy) เท่านั้น แต่การค้นพบที่มีอยู่ในปัจจุบัน แสดงว่ามาตรวัดหลากหลายของทัศนคติทางอ้อมอาจเป็นการแสดงออก (Expression) ของความเชื่อในระดับตื้น (Shallow)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Attitude to Aging Impacts Everything About Aging https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-new-resilience/201612/attitude-aging-impacts-everything-about-aging [2018, October 23].