จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 181 : ทัศนคติเปิดเผย (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-181

      

      การมีอิทธิพลเหนือมุมมอง (View manipulation) อย่างง่ายดาย หมายความ (Imply) ว่า มุมมองต่อชราภาพที่เป็นลบ อาจเป็นผลลัพธ์ (Product) จากการออกแบบทดลอง (Experimental design) ในการศึกษาที่พบว่า มุมมองซึ่งเป็นลบค่อนข้างมาก (Strongly negative) ต่อชราภาพ นักวิจัยได้ขอให้ผู้เข้าร่วมวิจัย เปรียบเทียบโดยตรงระหว่างผู้สูงวัยกับผู้เยาว์วัย ในสถานการณ์เช่นนั้น ผู้สูงวัยเกือบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitable) ที่จะพิจารณา (Regard) ในมิติ (Light) ที่เป็นลบ

      การกล่าวว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้สูงวัยมีปัญหาทางร่างกายและจิตใจ มากกว่าผู้เยาว์วัย มิได้เป็นความลำเอียงในลักษณะเดียวกับที่กล่าวว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้หญิงเตี้ยกว่าผู้ชาย อย่างไรก็ตาม คำพูดเหล่านี้ ครอบงำ (Predispose) ให้คนพูดมีความลำเอียงต่ออายุ (Ageist) หรือมีความลำเอียงต่อเพศ (Sexist) ในเชิงลบ

      ดังนั้น ถ้านักวิจัยขอผู้เข้าร่วมวิจัยให้เปรียบเทียบระหว่างผู้สูงวัยกับผู้เยาว์วัย ผู้สูงวัยมักจะแสดงผลที่แย่กว่า นักวิจัยยืนยันข้อเท็จจริงนี้ ในการสำรวจทั่วราชอาณาจักรอังกฤษเรื่องทัศนคติของผู้หญิงต่อชราภาพ นักวิจัยเพียงให้ผู้หญิงทุกวัยที่ตอบแบบสอบถาม แสดงความคิดเห็นในเรื่องผู้สูงวัยด้วยคำพูดของตนเอง โดยไม่เปรียบเทียบกับผู้เยาว์วัย

      การสนองตอบ (Response) ออกผลในเชิงบวกเกี่ยวกับชราภาพมากกว่าในการศึกษาอื่นๆ ดังนั้น มุมมองที่เป็นลบต่อชราภาพอาจเป็นผลลัพธ์ของการตั้งคำถามมากกว่า แต่หากถามว่าทัศนคติเหล่านี้ มีอิทธิผลอย่างไรต่อเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้ง (Profound change) และขอบเขตมากน้อยแค่ไหนต่อการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ยังเป็นคำถามที่ถกเถียงกันอยู่

      การวัดผลของทัศนคตติที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเหล่านี้ เรียกว่า ทัศคติโดยตรงหรือเปิดเผย (Explicit) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นทัศนคติที่แสดงออกของคนที่มีเวลาเตรียมคำตอบ อย่างไรก็ตาม แม้ภายใต้เงื่อนไขที่เข้มงวด (Rigid condition) ของการไม่เปิดเผยตัวตน (Anonymity) ทัศนคติดังกล่าว มีแนวโน้มของความลำเอียงในการนำเสนอในตัวมันเอง (Prone to self-presentational bias)

      ดังนั้น จึงมีเหตุผลสมควร (Sound ground) สำหรับการตั้งคำถามว่า ทัศนคติที่เปิดเผย เป็นการแสดงออก (Expression) ของสิ่งที่คนคิดจริงๆ หรือไม่? แต่เราก็สามารถโต้แย้งได้ (Arguable) ว่า ทัศนคติดังกล่าว ก็เป็นมาตรวัดว่า บุคคลนั้น ได้เตรียมตัวมากน้อยแค่ไหนในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่แท้จริง (True opinion)?

      นี่หมายความว่า อาจมีมากกว่าเพียงการส่อเป็นนัย (Hint) ถึงการจัดการกับความรู้สึกประทับใจ (Impression management) ในการสนองตอบของผู้เข้าร่วมวิจัย ต่อทัศนคติของการศึกษาเรื่องชราภาพ และก็มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ในเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า นักศึกษาเลือกเรียนวิชาจิตวิทยาผู้สูงวัย ได้ความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องชราภาพ แต่ความกังวล (Anxiety) เกี่ยวกับการแก่ตัวลงไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Attitude to Aging Impacts Everything About Aging https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-new-resilience/201612/attitude-aging-impacts-everything-about-aging [2018, October 2].