จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 179 : ทัศนคติต่อชราภาพ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-179

      

      นักวิจัยพบว่า เมื่อให้ข้อมูลหลอก (Fictional) เกี่ยวกับการสั่งยา (Prescription) แก่ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า (Depression) ทั้งนักจิตวิทยา (Psychologists) และผู้ให้คำแนะนำ (Counsellor) มีแนวโน้มในเชิงลบ (Pessimistic) เกี่ยวกับการพยากรณ์โรค (Prognosis) ของผู้ป่วยที่ได้รับการระบุว่า “สูงวัย” (Elderly)

      ทีมนักวิจัยหนึ่งติดตามความก้าวหน้าของผู้ป่วยประมาณ (Circa) 1,600 คน ที่ได้รับการวินิจฉัย (Diagnosed) ว่าเป็นมะเร็งที่ปอด (Lung cancer) แล้วพบว่า การรักษาโรคอย่างเข้มข้น (Intensive) มักพุ่งตรง (Directed) ไปที่ผู้ป่วยอันเยาว์วัยกว่า แม้ปัจจัยสุขภาพอื่นๆ จะเท่าเทียมกัน

      ตัวอย่างเช่น การรักษาด้วยการผ่าตัดได้ใช้กับ 37% ของผู้ป่วยที่เยาว์วัย เปรียบเทียบกับเพียง 15% ของผู้ป่วยที่มีอายุกว่า 75 ปี หลังจาการวินิจฉัยโรคได้ 6 เดือน อัตราการตาย (Mortality rate) ในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี เป็น 42% เทียบกับ 57% ในผู้ป่วยที่มีอายุกว่า 75 ปี ซึ่งความแตกต่างนี้ไม่สามารถโต้แย้งได้ว่า เกิดจากความแตกต่างในดัชนีสุขภาพ (Health indexes) อื่นๆ

      ทัศนคติในเชิงลบในบรรดาแพทย์ผู้รักษา (Clinician) ต่อผู้สูงวัย มิใช่เป็นเรื่องใหม่ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ไม่เต็มใจที่จะพิจารณาจิตบำบัด (Psycho-therapy) แก่ผู้ป่วยสูงอายุ และในทำนองเดียวกัน (Similar vein) จิตแพทย์ (Psychiatrist) บางครั้งก็ไม่รับรอง (Warranted) ผลการรักษา เพราะผู้ป่วยมีช่วงอายุที่เหลือไม่มากนัก อันจะได้ประโยชน์จากบำบัด

      นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมในเชิงลบ (Negativity surroundings) ของการดูแลผู้ป่วย (Geriatric care) อาจเป็นอุปสรรค (Deter) ต่อการที่จะได้แพทย์มาปฏิบัติหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ (Specialized practitioner) แม้ว่าในความเป็นจริง ขณะนี้เป็นเวลาที่ต้องได้แพทย์เฉพาะทางวัยชรามากขึ้นก็ตาม

      บางส่วนของความไม่เสมอภาคในทัศนคตินี้ อาจสะท้อน (Reflect) การรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (Ignorance) ของข้อมูลทั้งมวล (Full fact) เกี่ยวกับชราภาพ และทัศนคติของแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบด้วยความฉงนงงงวย (Surprisingly) ว่า บาทหลวง (Minister) และผู้บวชเรียนเป็นบาทหลวงต่างไม่ทราบข้อมูลพื้นฐานของชราภาพและบั้นปลายของชีวิต

      พยาบาลก็เช่นกัน มักปราศจากความรู้ในเรื่องชราภาพและความจำเป็นเฉพาะของผู้สูงวัย แม้ว่าพยาบาลเฉพาะทางผู้สูงวัย คงทำคะแนนได้ดี (Out-score) กว่ากลุ่มนักศึกษาพยาบาลอื่นๆ การศึกษาเพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่า แม้จะมีโอกาสในบางสถานการณ์ที่เพิ่มพูนความรู้และการรับรู้ (Awareness) ในเรื่องชราภาพ แต่ก็ไม่เกิดความเข้าใจเสมอไป

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Attitude to Aging Impacts Everything About Aging https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-new-resilience/201612/attitude-aging-impacts-everything-about-aging [2018, September 18].