จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 178 : ทัศนคติต่อชราภาพ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-178

      

      ย้อนกลับไปที่งานของทีมนักวิจัยก่อนหน้านี้ แม้ว่าผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) จะให้คะแนนค่อนข้างสมดุล (Relative balance) แก่ความคิดอ่าน (Judgment) ในฐานะนักศึกษา แต่ความแตกต่างระหว่างการให้คะแนนสูงสุดกับต่ำสุดแทบจะไม่มีนัยสำคัญ ดังนั้น ชั่วอายุคน (Generation) ที่ต่างกัน มีรูปแบบโดยทั่วไปที่เหมือนกันในมุมมองที่เกี่ยวกับชราภาพและสถานะ

      นักวิจัยโต้แย้งว่า ผู้สูงวัยดูเหมือน (Apparently) จะยึดหลักเสมอภาค (Egalitarian) มากกว่าผู้ใหญ่เยาว์วัย การค้นพบนี้ สะท้อน (Echo) อยู่ในงานของนักวิจัยอีกทีมหนึ่งที่พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยสูงวัยมีแนวโน้มที่จะให้คะแนนผู้สูงวัยด้วยกันในเชิงบวก แม้ว่าอาจถูกมองว่าเพื่อผลประโยชน์ตนเอง (Self-interest)

      ยังมีนักวิจัยอีกทีมหนึ่งซึ่งค้นพบสิ่งที่คล้ายกันว่า ผู้ใหญ่เยาว์วัยมีแนวโน้มที่จะแสดงความคิดเห็น (Comment) ในเชิงลบ เกี่ยวกับชราภาพ และนักวิจัยอีกทีมหนึ่ง สังเกตว่าอารมณ์ (Mood) และบุคลิกภาพ (Personality) อาจมีบทบาทสำคัญ โดยที่ผู้ชอบเข้าสังคม (Extravert) จะไม่รู้สึกหดหู่ (Depressed) ต่อแนวโน้มที่จะให้ความเห็นในเชิงลบต่อชราภาพ

      เมื่อขอให้ผู้เข้าร่วมวิจัยอธิบายกลุ่มที่มีอายุแตกต่างกัน จากคำจารึกบนหลุมฝังศพ (Epitomize) นักวิจัยพบว่า ผู้สูงวัยดูเหมือนจะมีความเป็นธรรม (Conscientious), แต่ไม่เปิดเผย (Open), ไม่ใช้อารมณ์เหนือเหตุผล (Neurotic), ค่อนข้างเก็บตัว (Introvert), และสุภาพอ่อนโยน (Agreeable) เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่วัยเยาว์ แต่ผลการให้คะแนนของแต่ละกลุ่ม มิได้แสดงการต่อต้านชราภาพ (Anti-aging)

      นักวิจัยอีกคนหนึ่งพบว่า การศึกษาระดับของการประเมินคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) ตลอดช่วงเวลาของชีวิต (Life span) บ่งบอกอะไรบางอย่างเกี่ยวกับชราภาพ โดยที่นักวิจัยคนนั้นพบว่า การประเมินคุณค่าในตนเอง อยู่ในระดับสูงในวัยเด็ก ตกลงในวัยรุ่น (Adolescence) แล้วสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ตกลงในวัยชราในที่สุด

      การค้นพบนี้ประยุกต์ใช้ได้กับทุกเพศ (Gender) และทุกสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในขณะเดียวกันผู้ใหญ่เยาว์วัยรู้สึกว่า อนาคตจะนำมาซึ่งการมีสุขภาพ (Well-being) ที่ดีขึ้น แต่ผู้สูงวัยมองเห็นแต่ความเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ ในอนาคต

      ในภาพรวม (Overall) มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ที่แสดงทางอ้อม (Imply) ว่าผู้คนส่วนใหญ่มีความเห็นที่สอดคล้องกัน (Consensus of opinion) ในสิ่งที่ก่อให้เกิด (Constitute) สัญญาณและสถานะของชราภาพ แม้แต่พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ (ผู้มีหน้าที่ทางวิชาชีพในการดูแลผู้สูงวัย) ก็มีความเห็นเหมือนกับบุคคลทั่วไป (General population) ในเรื่องทัศนคติในเชิงลบของผู้สูงวัย อันนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่ว่า แม้จะมีอาการที่คล้ายกัน (Identical symptoms) แต่การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค อาจแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างผู้ป่วยเยาว์วัย กับผู้ป่วยสูงวัย

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Attitude to Aging Impacts Everything About Aging https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-new-resilience/201612/attitude-aging-impacts-everything-about-aging [2018, September 11].