จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 175 : วิถีชีวิตกับการพึ่งพิง (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-175

      

      นักวิจัยพิจารณาประเด็นการพึ่งพิง (Dependency) โดยละเอียดแล้วโต้เถียงว่า การพึ่งพิงอาจเป็นสิ่งที่ดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับประเภทของการพึงพิง และสถานการณ์ (Circumstance) ของการได้มาซึ่งการพึ่งพิง การพึ่งพิงที่ไม่ดีอาจเป็นผลมาจากแรงจูงใจ (Motive) ที่ไม่ดี

      ดังนั้น สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของผู้สูงวัย อาจปฏิเสธการช่วยเหลือตนเอง (Deny of autonomy) ก็เป็นตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด อย่างไรก็ตาม การพึ่งพิงที่ไม่ดี อาจเกิดจากความตั้งใจดี (Good intention) ตัวอย่างเช่น นักสังคมสงเคราะห์ (Social worker) อาจให้ความช่วยเหลือผู้สูงวัยเกินกว่าความจำเป็นหรือมากกว่าที่ผู้สูงวัยร้องขอ

      นักสังคมสงเคราะห์อาจเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือรวม (Aid package) แต่กุศลกรรม (Largesse) เหล่านี้ เป็นการบังคับให้ผู้สูงวัยกลายเป็นคนพึ่งพิงระบบที่ขยายขอบเขตเกินกว่าความจำเป็น อย่างไรก็ตาม มิใช่การพึ่งพิงทุกอย่างเป็นสิ่งที่ไม่ดี นักวิจัยสังเกตเห็นว่าการพึ่งพิงที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นสิ่งที่ดี ถ้ามันปลดเปลื้อง (Liberate) ผู้สูงวัยจากการดูแลเล็กๆ น้อยๆ (Trivial care) หรือจากงานที่เป็นปัญหามากเกินไป (Problematic task)

      การพึ่งพิงที่ไม่ดี อาจวกกลับ (Reverse) หรืออย่างน้อยบรรเทา (Lessened) ผ่านการแทรกแซงเพื่อแก้ไข (Intervention) การพึ่งพิงในตัวมันเองอาจมิใช่สิ่งที่ดีหรือไม่ดี ประเด็นอยู่ที่มันถูกใช้อย่างไรและทำไมมากกว่า นักวิจัยพบความสัมพันธ์ภายใน ที่ซับซ้อน (Complex Interrelationship) ระหว่างการพึ่งพิงที่ดีและไม่ดี กับ ปัจจัยอื่น เขาพบ “การพึ่งพิงที่แข็งแรง” (Healthy dependency) ว่าเป็นระดับสูงของการรายงานสุขภาพตนเอง “การพึ่งพิงที่ผิดปรกติ” (Dysfunctional) มีความสัมพันธ์กับความน่าจะเป็นที่เพิ่มขึ้นของการใช้ยา (Medication) สำหรับความดันโลหิตสูง (Hypertension) และ “การพึ่งพิงมากเกินไป” (Over-dependency) มีสหสัมพันธ์กับระดับสูงของโรคซึมเศร้า (Depression)

      แต่มิใช่ทุกวรรณกรรมวิจัย (Research literature) จะตอบโจทย์ (Address) ของการพึ่งพิงได้เหมือนกัน คำว่าดีหรือไม่ดีใช้ในความรู้สึก (Sense) ของการพึ่งพิงการดูแล หรือปริมาณงานที่จำเป็นต้องดูแลผู้สูงวัย มีมาตรการมากมายที่ใช้วัดกิจกรรมเหล่านี้ อาทิ การพึ่งพิงที่เพิ่มขึ้นสามารถพยากรณ์ (Predictive) การเจ็บป่วยที่จะตามมา (Subsequent illness)

      ตัวอย่างเช่น การเพิ่มการพึ่งพิงมากขึ้นมีสหสัมพันธ์กับการฟื้นฟูที่แย่ลง (Poorer recovery) จากความเจ็บป่วยฉับพลัน (Acute) ในผู้ป่วยสูงอายุ แต่การพบเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งประหลาดใจ เพราะการพึ่งพิงเกิดจากความอ่อนแอ (Frailty) ดังนั้น การพบว่าสุขภาพกาย (Physical health) และการพึ่งพิงมีสหสัมพันธ์กัน เป็นสิ่งที่เข้าใจได้

      แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าว เป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ (Dismissed) เพราะในทางปฏิบัติผู้สูงวัยต้องพึ่งพิงบำนาญ (Pension) และสวัสดิการทางการเงิน (Financial welfare) เป็นต้น

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Did we get the ‘old-age dependency’ of aging countries all wrong? https://www.brookings.edu/blog/future-development/2015/05/20/did-we-get-the-old-age-dependency-of-aging-countries-all-wrong/ [2018, Aug 21].