จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 173 : จิตวิเคราะห์กับชราภาพ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-173

      

      อย่างไรก็ตาม อาจไม่แน่ชัด (Bleak) พอที่จะสรุปผล อันที่จริง อาจมีอันตรายอย่างใหญ่หลวง (Grave danger) ที่เราจะมองเห็นบุคลิกภาพ (Personality) ว่าเป็นสิ่งที่ตายตัวอย่างแก้ไขไม่ได้ (Irredeemably fixed) เพราะเราเชื่อว่า มันถูกหล่อหลอม (Shaped) จากช่วงต้นของชีวิต (Early life) แต่ความจริงแล้ว ไม่เสมอไป

      การศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal study) แสดงว่า ประเภทของบุคลิกภาพ มิได้ถูกจารึกในแผ่นศิลา (Set in stone) และอาจยากที่จะเคลื่อนย้ายจากประเภทหนึ่งไปยังอีกประเภทหนึ่ง แต่มิใช่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ มาตรวัดบุคลิกภาพ (Personality measure) เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติ (Guide) มิใช่คำพิพากษาไปตลอดชีวิต (Life sentence)

      แต่ก็ไม่ควรเป็นข้ออ้าง (Excuse) ที่จะหลีกเลี่ยงความพยายามในการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราต้องการ มีถ้อยคำซ้ำซากที่น่าเบื่อหู (Trite cliché) ว่า เมื่อคุณขับรถ เส้นทางไหนที่คุณจะไป ขึ้นอยู่กับการหมุนพวงมาลัย (Steering) ในปัจจุบัน แต่ย่อมมิใช่เส้นทางที่ได้เลือกขับมาแล้วในอดีต

      เมื่อไม่นานมานี้ ความเชื่อยอดนิยม (Popular belief) ได้เกิดขึ้นในบรรดาผู้ที่หวัง, ปรารถนา, และสวดมนต์ (Prayer) อย่างแรงกล้า (Deeply) ว่า บางสิ่งที่พึงประสงค์ (Desirable) จะเกิดขึ้น อันนำไปสู่การล้อเลียน (Mockery) ของนักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อย ซึ่งป่าวประกาศ (Trumpet) ความเป็นเหตุเป็นผลเหนือศรัทธา (Faith) บนพื้นฐานทัศนะในเชิงบวก (Positive outlook) และความปรารถนาที่จะแก้ไขปัญหา ดังต่อไปนี้

  • นักวิจัยผู้หนึ่งค้นพบว่า ผู้ใหญ่มักล้าหลัง (Lag behind) ในขั้นตอนพัฒนาการของอิริคสัน (Erikson’s stages of development) ในช่วงต้นของชีวิต แต่จะสามารถไล่ทัน (Catch up) และแซง (Overtake) หน้าผู้อื่นในเวลาต่อมาของชีวิต ดังนั้น สถานการณ์ปัจจุบัน มิได้กำหนด (Dictate) อนาคต
  • นักวิจัยกลุ่มหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า สุขภาพจิต (Subjective health) เป็นตัวพยากรณ์ (Predictor) ที่ดีอย่างมีนัยสำคัญของอายุคาด (Life expectancy) เหนือกว่าการวินิจฉัยโรคอย่างเป็นทางการ (Formal medical diagnosis) แต่การมีทัศนคติที่แข็งแรง (Robust) จะไม่เป็นพิษเป็นภัย (Harmful)
  • การกำลังกายปานกลาง (Moderate exercise) จะสามารถปรับปรุงทักษะการรับรู้ (Cognitive skill) การเปลี่ยนวิถีชีวิต (Life-style) และพฤติกรรม จะสร้างความแตกต่าง (Difference)
  • มาตรวัดบุคลิกภาพ มักผันแปร (Variable) และไม่ใช่ตัวพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งหมด ส่วนผลการทดสอบทางจิตวิทยาอย่างเป็นทางการก็มิใช่โหร (Prophet) ที่จะทำนายผลงาน (Performance) และพฤติกรรมทั้งหมดในอนาคต

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. The Older Patient in Psychoanalysishttp://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/00030651000480042601 [2018, Aug 7].