จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 172 : จิตวิเคราะห์กับชราภาพ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-172

      

      นักจิตวิทยาวิจัยได้แสดงให้เห็น (Demonstrate) ว่า ผู้คนส่วนมากเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (Mature) ในลักษณะพึงประสงค์ (Desirable manner) แต่ผู้ที่ยึดติด (Cling) กับกลไกปกป้องไม่เจริญตามวัย (Immature defense mechanism) มีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับปัญหาทางจิต เมื่อมีอายุมากขึ้น

      งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า มีมากกว่าหนึ่งหนทางไปสู่ชราภาพอย่างสัมฤทธิ์ผล แต่ทุกหนทางล้วนเกี่ยวข้องกับการยอมรับข้อจำกัด(Limitation) และการละทิ้ง (Renouncing) ความรับผิดชอบ โดยปราศจากความรู้สึกสูญเสีย กลยุทธ์ที่อาจสัมฤทธิ์ผลได้น้อยกว่า คือการดำรงไว้ซึ่งความกลัวต่อผลเสีย (Ravaging) ของชราภาพ และต่อสู่กับมัน โดยทำตัวให้กระฉับกระเฉง (Active) เท่าที่จะเป็นไปได้

      แต่นี้เป็นความล้มเหลวของการรับมือกับชราภาพ ซึ่งในที่สุด (Ultimately) น่าจะให้พึงพอใจน้อยกว่า แต่ทางเลือก (Option) ที่เลวร้ายที่สุด คือการไม่มีกลยุทธ์เลย และกล่าวโทษปัจจัยที่ผิดพลาดทั้งหมด สำหรับสภาวะของตนในปัจจุบัน นักวิพากษ์วิจารณ์ (Commentator) ไม่น้อย ได้บทสรุปที่คล้ายกันนี้

      อย่างไรก็ตาม ข้อโต้แย้งที่นำเสนอเหล่านี้ เป็นเพียงความคิดเห็นโดยทั่วไป (Generalization) ที่อาจทำให้เข้าใจผิด (Potentially misleading) อาจมีความกดดันทางสังคม (Societal pressure) ที่จะให้มีการผ่องถ่ายอำนาจ (Hand-over of reigns of power) ออกจากผู้สูงวัย

      การยอมรับการเปลี่ยนแปลงนี้ ด้วยความเต็มใจ อาจดูเหมือน (Akin to) เป็นการยอมแพ้ (Surrendering) อย่างหน้าชื่อ [อกตรม] (Gracefully) ต่ออริที่แข็งแรงกว่า (Stronger opponent) บนหลักการ (Principle) ว่า ถ้าต้องพ่ายแพ้ ก็ยอมอย่างเจ็บตัวน้อยที่สุด (Minimum of hurt)

      ข้อพิจารณาอีกประเด็นหนึ่งก็คือชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม (Socio-economic class) ผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตชราภาพอาจโวยวาย (Rant and rail) เกี่ยวกับพลังภายนอก (External forces) เนื่องจากสถานภาพทางสังคมของเขา ทำให้เขาได้รับสิทธิประโยชน์ (Privilege) ด้อยกว่าผู้อื่น

      ในทางตรงกันข้ามผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตชราภาพทั้งอารมรณ์ (Emotionally) และทางวัตถุ (Materially) มักมีมุมมองที่ผ่อนคลาย (Relax) ต่อสรรพสิ่ง ดังนั้นบุคลิกภาพของเขา จึงมักเป็นผลพวง (Product) ของสภาวะ (Circumstance) ทางเศรษฐกิจและสังคม เช่นเดียวกับปัจจัยจูงใจจากภายใน (Internally-motivating factors) ข้อพิจารณานี้ มิได้หักล้าง (Refute) ทฤษฎีต่างๆ ที่ได้กล่าวถึง แต่ต้องระวังมิให้บุคลิกภาพกลายเป็นสิ่งที่ผลักดันจากภายในแต่อย่างเดียว (Purely internally-driven entity)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. The Older Patient in Psychoanalysishttp://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/00030651000480042601 [2018, July 31].