จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 171 : จิตวิเคราะห์กับอุปนิสัย (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-171

      

      นักจิตวิทยาวิจัย ยังแยกประเภทของบุคลิกภาพออกเป็น จำพวก A กับจำพวก B โดยที่จำพวกแรก เป็นกลุ่มคนที่ “ยึดมั่น” (Hard-edged) ในการแข่งขัน จึงยากที่จะผ่อนคลาย (Relax) ในภาษาเฉพาะ (Parlance) ของคนที่มีอายุสัก 80 ปี น่าจะเรียกว่า เป็นพวกมุ่งมั่นในอุดมคติ (Ideal “yuppie” material) [Yuppie = Young and urban professionals]

      จำพวกหลัง จะอยู่ขั้วตรงกันข้าม (Opposite) กล่าวคือ ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย (Easy-going) และไร้กังวล (Carefree) เป็นต้น ดังนั้น จำพวก A น่าจะเหมาะสมที่สุดสำหรับช่วงต้นของภาวะผู้ใหญ่ (Adulthood) เมื่อยังมีโอกาสมากสุดที่จะแสดงความสามารถในการแข่งขัน เพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ (Career chasing) ในการกีฬา เป็นต้น

      ในช่วงต่อมาของชีวิต ไม่ควรแสวงหาบุคลิกภาคของ จำพวก A อีกต่อไป เนื่องจากการตอกย้ำ (Emphasis) ในวิถีชีวิตประจำที่หรือไม่เคลื่อนย้าย (Sedentary) ส่วนจำพวก B จะเหมาะกับสถานการณ์ตรงข้าม

      นักวิจัยได้วัดสุขภาพจิต (Psychological well-being) ของกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 18 ปี ถึง 89 ปี แล้วพบว่า บุคลิกภาพจำพวก A และจำพวก B ต่างเติมเต็มคำพยากรณ์นี้ แม้ว่า ผลลัพธ์อาจประนีประนอม (Mediated) ด้วยปัจจัยอื่นๆ อาทิ สภาพแวดล้อมทางสังคมของแต่ละบุคคล จนพบว่าจำพวก B มีอยู่ไปทั่ว (Prevalent) ในบรรดาผู้มีอายุ 100 ปี (Centenarian)

      ลักษณะเด่น (Notable feature) ของแบบจำลองประเภท (Type model) ก็คือ มันแสดงการเปลี่ยนแปลง ที่ค่อนข้างน้อย ตลอดชั่วอายุ (Life-span) หรือแสดงรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่พยากรณ์ได้ จากทัศนะ (Outlook) หนึ่งไปยังอีกทัศนะหนึ่ง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ในเมื่ออุปนิสัย (Trait) เปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก (Considerable alteration) ในช่วงอายุเดียวกัน?

      เหตุผลส่วนใหญ่อยู่การใช้มาตรวัดที่ประดิษฐ์ขึ้น (Artefact) ผู้คนอาจแตกต่างในเรื่องความแข็งแกร่ง (Strength) ซึ่งเขาจะแสดงออกเป็นกลุ่มพฤติกรรมเฉพาะ (Particular set of behaviors) แต่ยังคงอยู่ภายในประเภทบุคลิกภาพเดียวกันในวงกว้าง แต่อุปนิสัยอาจเปลี่ยนแปลงไปตามขนาด (Scale) ที่ถูกบันทึกไว้ (Registered) มิใช่ไม่ตายตัว (Absolute) ตลอดชั่วชีวิต

      ในการทบทวนวรรณกรรม (Literature) จำนวนมาก นักจิตวิทยาวิจัยสังเกตว่า บุคลิกภาพบางประเภทที่ค่อนข้างมั่นคง (Stable) อาจไม่เปลี่ยนแปลงมากนักตลอดชั่วชีวิต แต่บุคลิกภาพประเภทที่ด้อยเสถียรภาพ อาจไม่คงตัว (Labile) ในการสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงตามอายุ การศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal study) เมื่อเร็วๆ นี้ ก็สะท้อน (Echo) ข้อนี้

      หลากหลายทฤษฎีจิตวิเคราะห์ได้โต้แย้งว่า เมื่อเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (Mature) กลไก (Mechanism) ในการปกป้องอัตตาอย่างเหมาะสม (Ego) ของเรา จะพัฒนาตามกันไป (In tandem) เพื่อว่า เราจะได้มีจุดยืน (Standing ground) และสะบัดทิ้ง (Flouncing) ไว้เบื้องหลัง ซึ่งความขัดแย้ง (Conflict) ในลักษณะ (Manner) สมเหตุผล (Rational)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Psychoanalytic and Trait Approaches to Personality?http://www.markedbyteachers.com/university-degree/biological-sciences/psychoanalytic-and-trait-approaches-to-personality-there-are-several-different-aspects-of-analyzing-a-person-s-personality-no-two-people-will-be-the-exact-same.html [2018, July 24.