จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 169 : จิตวิเคราะห์กับอุปนิสัย (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-169

      

       นักจิตวิทยาวิจัย ได้แยกแยะ (Identify) อุปนิสัย 5 ประเภท โดยที่ประเภทแรกเป็นแนวความคิดสร้างสรรค์ (Constructiveness) ซึ่งเหมือนกับ (Akin to) สุดยอดของการแก้โจทย์ (Optimal solution) ที่คาดการณ์ (Envisage) โดยทฤษฎีของอีริคสัน (Erikson) ซึ่งกล่าวถึงผู้เข้าร่วมวิจัยที่มี (Possess) อุปนิสัยนี้ ว่าจะมีความพอใจในชีวิต และค่อนข้างจะปราศจากความกังวล ในขณะที่พยายาม (Strive) มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

      ประเภทที่ 2 เป็นแนวความคิดการพึ่งพา (Dependent) หรือ “เก้าอี้โยก” (Rocking chair) ซึ่งสร้างความพึงพอใจ (Content) พอสมควร แต่ผู้เข้าร่วมวิจัยอาจไม่พึงพอใจ (Dissatisfied) กับผลลัพธ์ (Product) ของความพยายาม (Effort) ของตนเอง และต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นให้ช่วยเหลือหรือบริการ (Serve) เขา ในเรื่องความสะดวกสบาย (Leisure) ในบั้นปลายของชีวิต

      ประเภทที่ 3 เป็นแนวความคิดการปกป้องตนเอง (Defensiveness) หรือ “วิธีการเกราะกำบัง” (Armored approach) เป็นเรื่องของจิตประสาท (Neurotic) ผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีอุปนิสัยนี้ ทำงาน หรือมีส่วนร่วม (Engaged) ในระดับของกิจกรรม ที่ดูเหมือนจะพิสูจน์ว่า พวกเขามีสุขภาพดี และไม่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่น

      ประเภทที่ 4 เป็นแนวความคิดเจตนาร้าย (Hostility) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกล่าวโทษ (Blame) ผู้อื่น ในเรื่องความโชคร้าย (Misfortune) ของตนเอง ผู้เข้าร่วมวิจัย กล่าวอ้างที่ไม่เป็นจริง (Unrealistic) ถึงความล้มเหลว (Failure) ตลอดชีวิต ว่าเป็นปัจจัย (Factor) ที่มิได้เกิดจาก (Attributed) ตนเอง ความจริงก็คือ บางส่วนเกิดจากการที่มิได้วางแผนอย่างเพียงพอ

      ประเภทที่ 5 เป็นแนวความคิดที่เกลียดชังตนเอง (Self-hatred) ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมวิจัยที่เหมือนกับผู้มีอุปนิสัยเจตนาร้าย แต่เป็นความขุ่นข้องหมองใจ (Resentment) ภายใน (Inwards) หรือต่อตนเอง มิใช่เจตนาร้ายต่อภายนอก หรือผู้อื่น

      นักจิตวิทยาวิจัย พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีแนวความคิด 3 ประเภทแรก สามารถปรับตัว (Adjust) ในบั้นปลายของชีวิต ในขณะที่ 2 ประเภทหลัง ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็เป็นการค้นพบที่ไม่น่าประหลาดใจ บนพื้นฐานคำอธิบายของนักจิตวิทยาวิจัยถึงบุคลิกภาพที่ประกอบด้วยความคิดเห็นในคุณค่าทางอ้อม (Implicit value judgement) ของคุณภาพของวิถีชีวิต (Lifestyle)

      นักจิตวิทยาวิจัยยังสังเกตว่า บุคลิกภาพได้รับการพัฒนาก่อนเริ่มต้น (Onset) ของบั้นปลายของชีวิต กล่าวคือ แต่ละประเภทมิใช่เป็นผล (Result) จากชราภาพ ดังนั้น เพื่อให้สนุกสนานกับบั้นปลายของชีวิต คนเราต้องเตรียมความพร้อม [เพื่อรับมือกับสถานการณ์] ข้อโต้แย้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากผลการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal study) ของนักวิจัยอีกผู้หนึ่ง

      ในการวิจัยดังกล่าว ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการแยกแยะหลากหลายรูปแบบของบุคลิกภาพ ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น จนถึงจุดเริ่มต้นของวัยกลางคน แต่โดยหลักๆ (Principally) แล้วแบ่งเป็น (1) ผู้ที่มั่นคง (Stable and secure) และ (2) ผู้ที่ไม่มั่นคง (Insecure)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. What’s the Trait Theory of Personalityhttps://www.verywellmind.com/trait-theory-of-personality-2795955 [2018, July 10].