จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 168 : จิตวิเคราะห์กับบุคลิกภาพ (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-168

      

ความขัดแย้งประการที่ 3 ระหว่างอัตตาที่เหมาะสมเหนือธรรมชาติ (Ego Transcendence) กับการยึดมั่นในอัตตาที่เหมาะสมตามธรรมชาติ (Ego pre-occupation) ซึ่งหมายความถึงบุคคลต้องยอมรับความจริงที่ว่า เขาต้องตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitable)

แม้สิ่งนี้จะเป็นความคิดที่ชัดเจนว่าไม่น่ารื่นรมย์นัก แต่ความสำคัญอยู่ที่ความพยายามทิ้งอะไรให้หลังจากตายไปแล้ว โดยดิ้นรน (Striving) ที่จะปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (Surroundings) และความเป็นอยู่ของผู้ (อันที่รักซึ่ง) ยังคงอยู่ ถือว่าเป็นการเอาชนะความกังวลที่อาจเคยหยิ่งยโส (Overweening) ในตนเองและชตากรรม (Fate) ของตนเอง

ยังมีนักวิจัยอื่นๆ ที่มองชราภาพเหมือนทฤษฎีอีริคสัน (Erikson) แต่มุ่งเน้น (Concentrate) ในบทบาทของผู้สูงวัยในครอบครัวและในสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสถานะทางร่างกายและอาชีพ ตัวอย่างเช่น ในการเปลี่ยนผ่าน (Transition) ของวัย 65 ปี (Late adult) ผู้คนต้องยอมรับความจริงที่ว่า เขาไม่ใช่ผู้ขับเคลื่อนหลัก (Prime mover) อีกต่อไปไม่ว่าจะเป็นชีวิตในงาน หรือชีวิตในครอบครัว

ดังนั้น ผู้สูงวัยต้องพอใจ (Content) และเรียนรู้ที่จะสละภาวะผู้นำ (Shed leadership) แล้วไปนั่ง “แถวหลัง” (Back seat) แต่นี่มิได้หมายความว่า ควรละทิ้งการดูแล (Care) และหน้าที่ (Duty) ทั้งหมดที่เขาเคยทำ เขายังมีบทบาทในการเป็นผู้ให้คำแนะนำ (Counselor) แก่ครอบครัวและญาติมิตรที่อ่อนเยาว์กว่า เพียงแต่ให้ความสำคัญกับอดีตน้อยลง นักวิจัยเรียกกระบวนการนี้ว่า “มุมมองจากสะพาน” (View from the bridge) [ของคนที่ข้ามสะพานมาแล้ว]

โดยทั่วไป นักวิจัยมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนการอธิบายด้วยจิตวิเคราะห์ อย่างน้อยในวงกว้าง (Broad term) นักวิจัยคนหนึ่งได้สัมภาษณ์ชาวอเมริกัน 87 คน เป็นชายที่มีอายุระหว่าง 55 ถึง 84 ปี ประมาณครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้เกษียณแล้ว และอีกครึ่งหนึ่งยังคงทำงานเต็มเวลา (Full time) หรือบางเวลา (Part time) [งานบางอย่างในสหรัฐอเมริกา ไม่มีการบังคับการเกษียณตามอายุ (Compulsory retirement age]

ผลปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยที่ใกล้เกษียณอายุ ดูเหมือนจะเป็น “ไม้ใกล้ฝั่ง” (On the edge) และ ชิงชังตนเอง (Self-deprecatory) ซึ่งแสดงว่า ช่วงเวลาของชีวิตในการวิจัย ถูกหยั่งรู้ (Perceived) ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เต็มไปด้วยความกังวล (Anxiety) ในภาพรวม มีการแยกแยะ (Identify) อุปนิสัย (Trait) ของบุคลิกภาพออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน

แบบจำลองอุปนิสัย (Trait model) ของบุคลิกภาพบางอย่างมีลักษณะร่วมกัน (Common attribute) ในผู้คนทั่วไป แต่ก็มีสิ่งที่ทำให้เราแตกต่างจากคนอื่น เช่นกัน อันที่จริง พลัง (Strength) ของแต่ละลักษณะหรืออุปนิสัย แตกต่างกันไปตามประเภทที่รวมกลุ่มกันอย่างเห็นได้เด่นชัด (Distinct category)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Psychoanalysis and the development of personality http://psychology.jrank.org/pages/510/Psychoanalysis.html [2018, July 3].