จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 166 : จิตวิเคราะห์กับบุคลิกภาพ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-166

      

      การขาดความยืดหยุ่น (Inflexibility) ในผู้สูงวัยที่หยั่งรู้ (Perceived) เป็นเรื่องของการตบตา (Specious) เพราะนักวิจัยไม่พบความแตกต่างตามอายุในมาตรวัด (Measure) ของเหตุผลทางจริยธรรม (Moral reasoning) ตัวอย่างเช่น ในเรื่องของอุปนิสัย (Trait) แม้ผู้สูงวัย มีแนวโน้มที่จะไม่ค่อยเปิดรับประสบการณ์ใหม่แต่ก็มิใช่ขาดความยืดหยุ่นโดยเด็ดขาด (Utterly inflexible)

      นักวิจัยจิตวิเคราะห์บางคนรู้สึกว่า บุคลิกภาพแท้จริงแล้ว (Essentially) ถูกกำหนดโดยนิสัยในวัยเด็ก (Childhood habit) แต่อีริค อีริคสัน (Erik Erikson) รู้สึกว่า บุคลิกภาพมีพัฒนาการตลอดช่วงชีวิต (Life-span) โดยโต้แย้งว่า ณ แต่ละช่วงเวลาของอายุ มีความขัดแย้ง (Conflict) ที่แตกต่างกัน ซึ่งจะต้องได้รับการคลายปม (Resolve)

      ตัวอย่างเช่น ในวัยทารก (Infancy) แต่ละบุคคลต้องรับมือกับปฏิกิริยากะทันหัน (Impulse) ต่อความไว้วางใจ (Trust) หรือไม่ไว้วางใจ (Mistrust) โดยพัฒนาการของความรู้สึก (Sense) ไว้วางใจ ซึ่งตามทฤษฎีอีริคสัน มีอยู่ 8 ขั้นตอน โดยขั้นตอนสุดท้ายเกิดขึ้นในบั้นปลายของชีวิต โดยมีจุดมุ่งหมายคือบูรณาการของอัตตาอย่างเหมาะสม (Ego integration)

      บูรณาการดังกล่าว แสดงถึงการยอมรับว่า จุดมุ่งหมายของขั้นตอนก่อนหน้านั้น ได้รับการสนองตอบแล้ว ดังนั้น บุคคลที่รู้สึกว่า ยังมิได้บรรลุจุดมุ่งหมายทุกอย่าง จะรู้สึกทอดอาลัย (Despair) เนื่องจากความตายใกล้มาถึงแล้ว (Approaching) จึงสายเกินกว่าที่จะแก้ไข (Amend) แล้ว กล่าวคือ ความกลัวตายทำให้รู้สึกกังวล (Anxious) และซึมเศร้า (Depressed)

      ในการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal study) นักวิจัยค้นหาปัจจัยผลกระทบของคนรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort) โดยใช้มาตรวัด (Measure) ของทฤษฎีอีริคสัน แล้วพบว่า ผู้ใหญ่เปลี่ยนแปลงในลักษณะคงเส้นคงวา (Consistent fashion) ตามทิศทางที่พยากรณ์โดยทฤษฎีดังกล่าว แต่ก็มิใช่ทุกคนดำเนิน (Proceed) ไปตามเส้นทางที่คล้ายกัน (Identical path) โดยนักวิจัยโต้แย้งว่า แต่ละบุคคลสามารถจัดเป็นกลุ่มตาม 5 เส้นทางของพัฒนาการได้ดังนี้

      1. เส้นทางที่แท้จริง (Authentic) – สำหรับผู้คนที่เปิดใจ ต่อความท้าทาย (Challenges) และพัฒนาการต่อเนื่อง

      2. เส้นทางชัยชนะ (Triumphant) – สำหรับผู้คนที่ยืดหยุ่น (Resilient) ท่ามกลางอุปสรรค (Adversity)

      3. เส้นทางตรงและแคบ (Straight and narrow) – สำหรับผู้ยอมรับวิถีตายตัว (Rigid course) ของพัฒนาการ, ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง, และอาจรู้สึกถูกบีบบังคับ (Constrained) ด้วยข้อจำกัดนี้

      4. เส้นทางคดเคี้ยว (Meandering) – สำหรับผู้ปราศจากความรู้สึกที่ชัดเจนของอัตลักษณ์ (Identity) ซึ่งไม่ได้ตัดสินใจทางเลือกสำคัญ

      5. เส้นทางลาดลง (Downward slope) – สำหรับผู้ที่เลือกทางผิดและมีพฤติกรรมที่ชิงชังตนเอง (Self-deprecating) หรือทำลายตนเอง (Self-destructive)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Simply Psychology - Erik Erikson https://www.simplypsychology.org/Erik-Erikson.html [2018, June 20].