จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 160 : วิถีชีวิตกับชราภาพ

จิตวิทยาผู้สูงวัย-160

      

      สัดส่วนสำคัญ (Significant proportion) ของการเปลี่ยนแปลงในช่วงอายุชีวิต (Life span) เกิดจาก (Attributable to) การเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต (Life style) ซึ่งแสดงว่า บุคลิกภาพ (Personality) สามารถเปลี่ยนเพื่อสนองตอบไปตามความต้องการในชีวิตส่วนตัว อันสะท้อนถึงการค้นพบของนักวิจัยที่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง (Shift) ที่สำคัญในบุคลิกภาพ มักเป็นสัดส่วน (Commensurate) กับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในวิถีชีวิต

      ดังนั้น บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน (Capricious) เหตุการณ์ในชีวิต ซึ่งบางครั้งพยากรณ์ไม่ได้ (Unpredictable) อาจเป็นสาเหตุของมาตรวัดบุคลิกภาพที่ผันผวน (Fluctuate) และมีรายงานการค้นพบอย่างกว้างขวาง (Extensively) ในเรื่องความแปรปรวน (Variability) ตลอดช่วงอายุของชีวิต

      เพื่อกวนน้ำให้ขุ่น (To muddy the waters) เป็นที่น่าสังเกตว่า ตลอดช่วงความผันผวน (Fluctuation) ตำแหน่ง (Positioning) ของแต่ละบุคคล (Individual) ในกลุ่มที่เกิดรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort) ก็ยังคงเหมือนเดิม (Constant) อย่างแจ้งชัด (Remarkably) ในกรณีที่คะแนนดิบของการทดสอบเชาวน์ปัญญา (Intelligence) ผันผวน แต่เชาว์ปัญญาของแต่บุคคล ยังคงมีเสถียรภาพ

      ในทำนองเดียวกัน แม้คะแนนดิบของการทดสอบบุคลิกภาพจะผันผวน ไปตามกลุ่มอายุ แต่ตำแหน่งของแต่ละบุคคล จะยังคงเหมือนเดิม เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่เหลือในกลุ่มเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีประจักษ์หลักฐานว่า อุปนิสัยของบุคลิกภาพ เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ยืดหยุ่นได้มากขึ้น และรองรับ (Accommodate) กลุ่มที่เกิดรุ่นราวคราวเดียวกัน

      และนี่อาจอธิบายบางส่วนของแบบฉบับตายตัว (Stereotype) ว่า ผู้ใหญ่สูงวัย เริ่มมีความคิดอนุรักษ์นิยม (Conservative) และหัวโบราณ (Hidebound) อันที่จริงแล้ว ชราภาพในตัวมันเอง (Per se) มิได้ทำให้คนมีหัวโบราณ แต่กลุ่มผู้สูงอายุมีความอดทนยอมรับ (Tolerant) น้อยลง ในรุ่นราวคราวเดียวกัน

      การเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มอายุ อาจไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบเพียงอายุ เพราะอาจมีผลกระทบรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort effect) ที่ “แต่งเติมเสริมสี” (Coloring) ในการวิเคราะห์ ท่ามกลางการวิจัยที่มีท่วมท้น (Overwhelming) ซึ่งอาศัยคะแนนทดสอบในการบ่งบอกบุคลิกภาพของอุปนิสัย

      อย่างไรก็ตาม การศึกษาที่แยบยล (Ingenious) โดยนักวิจัย เสนอแนะ (Suggest) ว่า การค้นพบเหล่านี้อาจชี้นำผิดทาง (Misleading) เมื่อมาตรวัด (Measure) บุคลิกภาพในชีวิตจริงของกลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) แสดงรูปแบบ (Pattern) ของการเปลี่ยนแปลงที่มักจะเด่นชัด (Pronounced) มากกว่าในมาตรวัดการทดสอบอุปนิสัย ซึ่งอาจมิได้วัดบุคลิกภาพตามที่แสดงออก (Expressed) ในชีวิตจริง

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Lifestyles of the Elderly: the Past, the Present, and the Futurehttp://acrwebsite.org/volumes/12161/volumes/sv05/SV-05 [2018, May 8].