จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 16 : ประสบการณ์จากอังกฤษ

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ชราภาพ (Ageing) มิใช่เป็นประเด็นโดดเด่น (Unique) ของสมัยปัจจุบัน เพียงแต่ว่าใน 2 – 3 ร้อยปีที่ผ่าน มันได้กลายเป็นสิ่งธรรมดาสามัญ (Commonplace) โดยมีการสันนิษฐานกันว่า ผู้สูงอายุยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-historic) เป็นกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมาก (Extremely rare)

แม้ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ก็ประมาณการกันว่า มีเพียง 1% ของประชากรเท่านั้นที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สัดส่วน (Proportion) นี้ ก็สูงขึ้นประมาณ 4% ในประเทศอังกฤษ ทุกวันนี้ ประมาณ 11 ล้านคน หรือ 16% ของประชากรมีอายุ 65 ปีขึ้นไป

ในปี พ.ศ. 2550 เป็นครั้งแรกเท่าที่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ที่จำนวนผู้สูงอายุ [65 ปีขึ้นไป] มากกว่าจำนวนผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปีลงมาเสียอีก ในประเทศอุตสาหกรรมที่เจริญแล้ว ก็มีตัวเลขที่คล้ายคลึงกัน จึงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าผู้สูงอายุกลายเป็นประสบกาณ์ธรรมดาสามัญไปแล้ว

โดยทั่วไปเรามักจะวัด (Measure) อายุจริงตามเวลา (Chronological age) ของผู้คน กล่าวคือ ตามจำนวนครั้งของโลกที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ตั้งแต่เราเกิด แต่เป็นมาตรวัดที่เชื่อถือไม่ได้ หากต้องการรู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับแต่ละบุคคล เนื่องจากผู้คนที่มีอายุเท่ากัน จะมีความแตกต่างกันในสภาวะทางร่างกาย (Physical) และจิตใจ (Mental)

ความแตกต่างดังกล่าว จะยิ่งเห็นได้ชัด (Pronounced) ในบรรดาผู้สูงอายุ ตัวอย่างเช่น เรามักจะจินตนาการ ผู้มีอายุ 70 ปีในแบบอย่างทั่วไป (Stereotype) ว่า มีผมสีเทา (Grey hair) และผิวหนังเหี่ยวย่น (Wrinkled skin) แต่ก็มีผู้ที่อยู่ในวัยเดียวกัน โดยปราศจากคุณลักษณะ (Features) ดังกล่าว กล่าวคือ ดูอ่อนเยาว์กว่าอายุจริง (Agerasia) และก็มีผู้ใหญ่ที่ดูแก่กว่าอายุจริงก่อนวัย (Prematurely old)

นอกจากนี้ ยังมี อายุทางสังคม (Social age) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับทางสังคม ณ อายุจริง ตัวอย่างเช่น เราคงไม่คาดหวังที่จะเห็นปู่ย่าตายายเล่นกระดานสเก็ต (Skateboard) หรือวัยรุ่นที่จำเป็นต้องถือไม้เท้า (Walking stick) ข้างกาย

อายุทางสังคมยังกำหนด (Shape) พฤติกรรมที่เหมาะสมระหว่างชั่วอายุคน (Inter-generational) พร้อมด้วยเพศสัมพันธ์ (Sexual relationship) ที่มีช่องว่างระหว่างวัย (Age gap) ของคู่ชีวิต แล้วยังมีประเด็นเรื่องชราภาพ (Old age) มีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างจากวัยก่อนหน้านี้ แนวความคิดนี้ แผ่ซ่านไปทั่ว (Pervasive) และมีรากที่ฝังลึก (Deeply rooted) อยู่ในหลากหลายวัฒนธรรม

ตัวอย่างเช่น ความคิดสมัยโบราณ (Antiquity) ก็คือการมีอายุยืนเป็นรางวัลตอบแทนพฤติกรรมเคร่งครัดในศาสนา (Pious) แต่ในสังคมอุตสาหกรรมนั้น “มองต่างมุม” โดยที่ช่วงปลายของชีวิต เป็นระยะเวลาแห่งการพักผ่อน (Leisure) หลังจากทำงานหนักมาตลอดชีวิต โดยมีการเกษียณอายุตามประเพณี (Traditional retirement) เป็นสัญลักษณ์

แหล่งข้อมูล

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Ageing - http://en.wikipedia.org/wiki/Ageing [[2015, August 4].