จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 157 : บุคลิกภาพและวิถีชีวิตกับชราภาพ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-157

      

      ในโลกแห่งความเป็นจริง อุปนิสัยหลายประเภทจำเป็นต้องรวมตัวกัน (Combine) เพื่อให้เข้าใกล้ (Approaching) รูปถ่ายทางจิตวิทยาที่รอบด้าน (Rounded psychological portrait) ของแต่ละบุคคล

      อย่างไรก็ตาม หากใช้จำนวนอุปนิสัยมากประเภทเกินไป ก็อาจทำให้ยากขึ้นในการบูรณาการ (Integrate) ข้อมูลรูปภาพที่เชื่อมโยงกัน (Coherent) จนเกินกว่าที่จะสื่อข้อความอย่างมีความหมายได้ ด้วยเหตุนี้ นักจิตวิทยาจึงมักพยายามจำกัดจำนวนประเภทของอุปนิสัยที่ใช้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งกลายเป็นการเลือกที่ต้องเสียอย่างได้อย่าง (Trade-off)

      กล่าวคือ การวัดผลบุคลิกภาพโดยใช้จำนวนน้อยประเภทของอุปนิสัย จะให้โครงร่าง (Outline) บุคลิกภาพกว้างขึ้น แต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitable) ก็คือการปราศจากรายละเอียด แต่ถ้านี่เป็นทางเลือก (หรืออุปนิสัยจำนวนมากประเภทนั้นเป็นไปไม่ได้ (Unfeasible) ที่จะอธิบายเกี่ยวกับบุคคล) ความมัธยัสถ์ (Parsimony) [น้อยประเภท] จึงดูจะเป็นทางเลือก (Option) ที่ดีกว่า ในกรณีเช่นนั้น

      ในระยะแรกของการศึกษาอุปนิสัยบุคลิกภาพในบั้นปลายของชีวิต นักวิจัยบางคนมีความเห็นว่า บุคลิกภาพอาจได้รับการรวบรวมอย่างเพียงพอโดยใช้อุปนิสัยเพียง 3 ประเภท อันได้แก่ (1) การเป็นคนเปิดเผยหรือเป็นคนปกปิด (Extraversion-introversion : EN) (2) การมีจิตวิตกกังวล (Psychoticism : P) และ (3) ความไม่มั่นคงในอารมณ์ (Neuroticism : N)

      อุปนิสัยทั้ง 3 ประเภท วัดขอบเขตกันที่บุคคลอาจมีอารมณ์มั่นคง (Cold emotional) และต่อต้านสังคม (Anti-social) หรือมีความกังวล (Anxious) และอารมณ์หวั่นไหว (Unstable) นักวิจัยพบว่า EN, P และ N เปลี่ยนแปลงไป (Alter) เมื่อสูงวัยขึ้น และเพศ (Gender) ก็มีอิทธิพลที่สำคัญ P จะเสื่อมถอยตามชราภาพ แต่ในอัตราที่รวดเร็วกว่าสำหรับผู้ชาย เมื่อเทียบกับผู้หญิง

      เมื่ออายุได้ 16 ปี ผู้ชายจะทำคะแนน P ได้เกือบเป็น 2 เท่าของผู้หญิง แต่เมื่ออายุประมาณ 70 ปี ความแตกต่างเหล่านี้ แทบจะไม่มี (Non-existent) ในทางปฏิบัติ ที่น่าสงสัย (Curious) ก็คือการเปลี่ยนแปลงใน EN ซึ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิงมักกลายเป็นคนปกปิด เมื่อมีอายุสูงขึ้น [ชราภาพ]

      ผู้ชายในช่วงปลายของวัยรุ่นมักเป็นคนเปิดเผยมากกว่าผู้หญิง แต่หลังจากนั้น การเปิดเผยของเขาก็จะเสื่อมถอยในอัตราที่เร็วกว่าผู้หญิง จนถึงอายุประมาณ 60 ปี ผู้ชายก็มักปกปิดมากกว่าผู้หญิง จุดข้ามสภาวะ (Cross-over) นี้ ของทั้ง 2 เพศนี้ [กล่าวคือเป็นคนปกปิดพอๆ กัน] อยู่ที่อายุประมาณ 40 ปี

      ส่วนการเปลี่ยนแปลงใน N อาจน่าตื่นเต้น (Spectacular) น้อยกว่า เพราะความเสื่อมถอยของความไม่มั่นคงในอารมณ์ของทั้ง 2 เพศ แต่ในทุกระดับอายุ คะแนนของผู้หญิงจะสูงว่าผู้ชาย [กล่าวคือผู้หญิงมีความไม่มั่นคงในอารมณ์มากกว่าผู้ชาย นั่นเอง]

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Your Personality Completely Transforms As You Agehttps://www.huffingtonpost.com/entry/personality-changes-age_us_58ac6736e4b02a1e7dac16b3 [2018, April 17].